สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน (องค์การมหาชน) สสปท. ได้ดําเนินการจัดทําแผนปฏิบัติการ ระยะ 5 ปี ของ สสปท. ตามมาตรา 9 ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 มีสาระสําคัญให้ส่วนราชการจัดทําแผนปฏิบัติการเป็นแผน 5 ปี ซึ่งกระทรวงแรงงานได้ดําเนินการจัดทํา แผนปฏิบัติการโดยการทบทวน ปรับปรุงและต่อยอดจากแผนปฏิบัติการด้านแรงงาน (พ.ศ. 2563 -2565) ฉบับทบทวน พ.ศ. 2564 โดยเชื่อมโยงกับแผนระดับที่ 1 คือ ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี แผนระดับที่ 2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ และนโยบายความมั่นคง และสอดรับกับบริบทสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกทั้งในปัจจุบัน และในช่วงปี พ.ศ. 2566 - 2570 ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเตรียมการด้านแรงงานเพื่อรองรับ โครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมหลังสถานการณ์โรค ระบาดโควิด-19 คลี่คลายลง การเข้าสู่สังคมสูงอายุ และการดําเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก (Sustainable Development Goals: SDGs) ที่เกี่ยวข้องด้านแรงงาน รวมถึงมาตรฐานสากลด้านแรงงานที่อาจมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
การจัดทําแผนปฏิบัติการ ระยะ 5 ปี ของ สสปท.ในครั้งนี้มีแนวทางดําเนินงานหลักสําคัญ 3 ประการ คือ
1) การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานประกอบด้วย แผนระดับที่ 1 และแผนระดับที่ 2 ที่เกี่ยวข้อง มาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้อง สถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่ท้าทายต่อการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ตัวชี้วัดด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน รายงานผลการศึกษาวิจัยด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ผลการดําเนินงานที่ผ่านมาของกระทรวงแรงงาน และกรณีศึกษาแนวทางหรือมาตรการของหน่วยงานในต่างประเทศ
2) การระดมความเห็นและวิเคราะห์บริบทสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ
3) การรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) แผนปฏิบัติการ ระยะ 5 ปี ของ สสปท. จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
จากแนวคิดข้างต้น แผนปฏิบัติการ ระยะ 5 ปี ของ สสปท. (พ.ศ. 2566 - 2570) มีแนวทางการดําเนินงานรวมทั้งสิ้น 5 แนวทาง ประกอบด้วย
แนวทางพัฒนาที่ 1
ดําเนินการวิจัยและพัฒนามาตรฐานระบบการจัดการ และยกระดับการให้บริการวิชาการ สร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมส่งเสริมและปรับปรุงด้านความปลอดภัยในการทํางานให้สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เป็นปัจจุบัน มีแผนงาน/ ตัวอย่างของโครงการสําคัญ (Flagship Project)/ กิจกรรมที่ควรบรรจุในแผนรวม 13 โครงการ เช่น โครงการจัดทํามาตรฐาน คู่มือ และแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยฯ
แนวทางพัฒนาที่ 2
เสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรด้านความปลอดภัยฯ ตอบสนองภาคอุตสาหกรรมทุกระดับ มีแผนงาน/ ตัวอย่างของโครงการสําคัญ (Flagship Project)/ กิจกรรมที่ควรบรรจุในแผนจํานวน 2 โครงการ เช่น โครงการพัฒนาบุคลากรที่ปรึกษามาตรฐานการจัดการด้านความปลอดภัยฯ
แนวทางพัฒนาที่ 3
สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันในสังคมทุกระดับ มีแผนงาน/ ตัวอย่างของโครงการสําคัญ (Flagship Project)/ กิจกรรมที่ควรบรรจุในแผน 6 โครงการ เช่น โครงการรณรงค์ลดสถิติการประสบอันตรายจากการทํางานให้เป็นศูนย์
แนวทางพัฒนาที่ 4
พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐและเสริมสร้างขีดความสามารถของการให้บริการ มีแผนงาน/ ตัวอย่างของโครงการสําคัญ (Flagship Project) / กิจกรรมที่ควรบรรจุในแผนจํานวน 26 โครงการ เช่น โครงการพัฒนา Core Competency ที่จําเป็นและทันสมัยในทุกระดับ
แนวทางพัฒนาที่ 5
การสร้างความมั่นคงให้กับองค์กรมีแผนงาน/ ตัวอย่าง ของโครงการสําคัญ (Flagship Project)/ กิจกรรมที่ควรบรรจุในแผน จํานวน 7 โครงการ เช่น โครงการ ให้บริการตรวจวัด/ วิเคราะห์ทางสุขศาสตร์ ทั้งนี้ มีกลไกตัวชี้วัดที่ระบุความสําเร็จในการดําเนินงานในแต่ละขั้นของแผนทั้งในระดับผลผลิต และระดับผลลัพธ์ที่จะตอบสนองต่อการพัฒนา ภายใต้แผนระดับต่างๆ ทั้งยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2570) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติแผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ
การบรรลุเป้าหมายและผลสําเร็จภายใต้แผนปฏิบัติการฯ นี้ จําเป็นต้องอาศัยความร่วมมือ จากหน่วยงานและบุคลากรที่รับผิดชอบ ร่วมผลักดันและขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ อย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมทั้งต้องมีการติดตามประเมินผลและทบทวนเป็นระยะๆ เพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคจากการปฏิบัติงาน และเพื่อปรับปรุงพัฒนาการดําเนินงานให้มีประสิทธิภาพตอบสนองการเปลี่ยนแปลงพัฒนาของโลกวิถีใหม่ต่อไป