This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111

 A-002

หลักสูตรการวิเคราะห์องค์กรเพื่อการจัดการความเสี่ยงและโอกาส ต่อระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

หลักการและเหตุผล

        ในปัจจุบันการดำเนินธุรกิจขององค์กรให้ประสบความสำเร็จทั้งในด้านการเติบโตของธุรกิจการมีภาพลักษณ์ที่ดีในด้านคุณภาพของสินค้า ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรจะต้องทราบถึงความเสี่ยงและโอกาสที่จะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงและโอกาสที่มาจากปัจจัยภายใน และภายนอกองค์กร ตลอดจนการดำเนินการกับความเสี่ยงและโอกาสที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจทั้งในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรจะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น

         การวิเคราะห์องค์กรเพื่อการจัดการความเสี่ยงและโอกาส ต่อระบบการจัดการความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้สถานประกอบกิจการสามารถกำหนดความเสี่ยงและโอกาส โดยพิจารณาจากปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อการจัดทำระบบการจัดการความปลอดภัยฯ ความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และนอกจากนี้ยังพิจารณาความเสี่ยงและโอกาสจากข้อกำหนดด้านความปลอดภัยฯ ที่องค์กรนำมาประยุกต์ใช้ พร้อมทั้งกำหนดวิธีการในการประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่ได้ทำการชี้บ่งไว้ ตลอดจนการกำหนดวิธีการในการจัดการกับความเสี่ยงและโอกาสที่องค์กรเห็นว่าส่งผลกระทบต่อการจัดทำระบบการจัดการความปลอดภัยฯ ขององค์กร

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้สถานประกอบกิจการสามารถเข้าใจบริบทขององค์กร โดยพิจารณาจากปัจจัยภายในและภายนอก ที่สามารถส่งผลกระทบต่อการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

  • เพื่อให้สถานประกอบกิจการสามารถเข้าใจความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับองค์กรได้

  • เพื่อให้สถานประกอบกิจการสามารถกำหนดความเสี่ยงอื่น ๆ และโอกาสอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

  • เพื่อให้สถานประกอบกิจการทำการประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่ได้จากปัจจัยภายในและภายนอก ความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ตลอดจนความเสี่ยงและโอกาสอื่น ๆ ที่สามารถส่งผลกระทบต่อการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

  • เพื่อทำการจัดการกับความเสี่ยงและโอกาสดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อการฝึกอบรม

  • การยศาสตร์และองค์ประกอบของระบบงานคอมพิวเตอร์

  • ผลกระทบการยศาสตร์ต่อสุขภาพ

  • ท่าทางการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ในสำนักงานตามหลักการยศาสตร์

  • สภาพแวดล้อมในสำนักงานที่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์

  • แนวทางการปรับปรุงระบบงานคอมพิวเตอร์ในสำนักงาน

  • การประเมินท่าทางในการปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์

  • ท่าบริหารร่างกายสำหรับพนักงานสำนักงานที่ปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์

วิทยากร

  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการยศาสตร์ (การปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์)

  • เจ้าหน้าที่สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน)

กลุ่มเป้าหมาย

  • ผู้บริหาร/เจ้าของกิจการ

  • ผู้บริหารด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

  • เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน

ราคาค่าธรรมเนียมในการให้บริการ

  •  ค่าใช้จ่าย 30,000 บาท (จำกัดไม่เกิน 30 คนต่อรุ่น)

วิธีและรูปบบการฝึกอบรม

  • บรรยาย กรณีศึกษา และฝึกปฏิบัติการ (ถ้ามี)

  • การทดสอบความรู้ความเข้าใจ ก่อน-หลังการฝึกอบรม

ระยะเวลาในการฝึกอบรม

  •  1 วัน (6 ฃั่วโมง)

การวัดผลและการประเมินผล

  • ผู้เข้าอบรมต้องเข้าร่วมอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตร

  • ผู้เข้าอบรมต้องทำข้อสอบประเมินผล โดยผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ70 จึงจะมีสิทธิ์ได้รับใบรับรองการอบรม

กำหนดการฝึกอบรม

หลักสูตรการวิเคราะห์องค์กรเพื่อการจัดการความเสี่ยงและโอกาส ต่อระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

เวลา

รายละเอียด

08.30-09.00 น.

ลงทะเบียน

9.00 – 9.15 น.

ระบบงานคอมพิวเตอร์
- การยศาสตร์และองค์ประกอบ
- ปัจจัยการยศาสตร์ของระบบงานคอมพิวเตอร์

9.15 – 10.30 น.

ผลกระทบการยศาสตร์ต่อสุขภาพ

 

 - ผลกระทบต่อระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
  • อาการปวดเมื่อยคอและไหล่
  • อาการปวดเมื่อยข้อมือ
  • อาการปวดเมื่อยหลังส่วนล่าง
  • อาการปวดเมื่อยขาและหัวเข่า
- ผลกระทบต่อสุขภาพตา
  • ตาและการมอง
  • อาการผิดปกติของการมอง
  • อาการคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม

10.30 – 12.00 น.

ท่าทางการปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในสำนักงาน
- ท่านั่งปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
- ท่านั่งปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา
- ท่ายืนปฏิบัติงาน
- ท่ากึ่งนั่ง-กึ่งยืนปฏิบัติงาน

12.00 – 13.00 น.

พักทานอาหารกลางวัน

13.00 – 13.45 น.

สภาพแวดล้อมในสำนักงานที่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์
- อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์
- แสงสว่าง
- เสียง

13.45 – 14.30 น.

แนวทางการปรับปรุงระบบงานคอมพิวเตอร์ในสำนักงาน
- เลือกใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับงานและผู้ปฏิบัติงาน
- เลือกใช้สถานีงานที่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์
- เลือกใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์
- ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในสำนักงานให้เหมาะสม
- ปรับปรุงงานคอมพิวเตอร์ในสำนักงานให้เหมาะสม
- ปรับปรุงพฤติกรรมในการปฏิบัติงานให้เหมาะสม

14.30 – 15.15 น.

การประเมินท่าทางในการปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์

15.15 – 16.00 น.

ท่าบริหารร่างกายสำหรับพนักงานสำนักงานที่ปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์
- ท่าบริหารคอและไหล่
- ท่าบริหารข้อมือ
- ท่าบริหารหลังส่วนล่าง
- ท่าบริหารขา หัวเข่า และข้อเท้า

16.00-16.30 น.

ตอบข้อซักถาม และทดสอบความรู้ความเข้าใจหลังการอบรม
ประเมินผลการฝึกอบรม