This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111

 

Displaying items by tag: คู่มือ

วันจันทร์, 04 ตุลาคม 2564 14:39

คู่มือการยับยั้งการตกจากที่สูง

Published in e-book
Tagged under

           ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มาตรา 16 กำหนดให้ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ออกประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน  เพื่อให้การบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย ให้แก่ลูกจ้างระดับบริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างในทุกระดับ กรณีที่ นายจ้างไม่สามารถจัดให้มีการฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้าง ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างเข้ารับการฝึกอบรมกับสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือหน่วยงานที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนดหรือยอมรับ         

         สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ จึงได้จัดทำหลักสูตรความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ ตามที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้กำหนดไว้ในประกาศ  เพื่อให้สถานประกอบกิจการหรือหน่วยงาน สามารถนำคู่มือพร้อมวิดีโอประกอบการสอนนี้  ไปจัดอบรมให้กับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ นำองค์ความรู้นี้ไปใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้สถานที่ปฏิบัติงานมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย

เนื้อหาหลักสูตรมีทั้งหมด 3 หัวข้อวิชา ดังนี้

1.  หัวข้อวิชาที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน 

2.  หัวข้อวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัยฯ

3.  หัวข้อวิชาที่ 3 ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยฯ

 

[ ดาวน์โหลดคู่มือ ]

[ ดูผ่าน E-Book ]

หมายเหตุ

  • เนื้อหาคู่มือและวิดีโอนี้จัดทำขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2563

     

วิดีโอประกอบการอบรม

หัวข้อวิชาที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน 

 

หัวข้อวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัยฯ (วิดีโออยู่ระหว่างปรับปรุงเนื้อหาบางส่วน)

หัวข้อวิชาที่ 3 ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

 

 

 

 

Published in e-book
Tagged under
วันพฤหัสบดี, 15 ตุลาคม 2563 10:22

คู่มือการป้องกันการตกจากที่สูง

Published in e-book
Tagged under
วันพฤหัสบดี, 15 ตุลาคม 2563 08:52

คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน

Published in e-book
Tagged under
หน้าที่ 1 จาก 2

  แนวคิด  

การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย

      อุบัติเหตุจากการทำงานที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้สถิติการประสบอันตรายจากการทำงานจะมีแนวโน้มลดลง แต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นยังคงพบเป็นข่าวรายวันและเป็นอุบัติเหตุจากการทำงาน ที่มีความรุนแรง จนทำให้ลูกจ้างได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดคำถามว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ยังคงทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน  รวมไปถึงการเฝ้าระวังและให้ความสำคัญ ในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุมีมากน้อยเพียงไร  หากจะพิจารณาถึงสาเหตุหลักๆ คงต้องแบ่งออก ดังนี้

  • เครื่องมือ  เครื่องจักร  อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่ใช้ประกอบการทำงานมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีความซับซ้อนการทำงานมากขึ้น  หากผู้ใช้งานขาดการศึกษาและฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้งาน  ก็อาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้
  • ผู้ปฏิบัติงานไม่ตระหนักถึงอันตราย ใช้ความเคยชินในการปฏิบัติงาน ขาดจิตสำนึกด้านความปลอดภัย

  แนวทาง  

การดำเนินงานสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยของ สสปท.

      วัฒนธรรมด้านความปลอดภัย (Safety Culture) เป็นการมองถึงพฤติกรรม ของคนในสังคม ที่แสดงถึงลักษณะ และทัศนคติเกี่ยวกับความปลอดภัยที่บุคคลหรือองค์กรนั้นๆ ยึดถือและปฏิบัติตามกันมา ความเชื่อ และความรู้สึก จนเป็นแนวปฏิบัติและวัฒนธรรม ความปลอดภัยเดียวกัน หากต้องการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้เกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยหลายองค์ประกอบ โดยบุคลากรทุกระดับต้องร่วมกันสร้างและขับเคลื่อน ความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปปรับใช้กับงานต่าง ๆ ได้ โดยเริ่มที่การสร้างค่านิยมของแต่ละบุคคล

      ในปี 2565 สสปท. ได้วางแนวทางการสร้างสรรค์วัฒนธรรมความปลอดภัยและสุขภาพ อนามัยในการทำงาน ด้วยการสร้างค่านิยมหลักด้านความปลอดภัยร่วมกัน (Safety Shared Values) ตามแนวทางปฏิบัติ 3 ข้อ ได้แก่ สติรู้ตัว วินัยถูกต้อง และเอื้ออาทรใส่ใจ

      การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้เกิดขึ้นภายในองค์กร ควรเริ่มต้นที่บุคลากรทุกระดับ โดยนำค่านิยมหลักด้านความปลอดภัยทั้ง 3 ด้าน มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและการดำรงชีวิตประจำวันจนเคยชิน และต่อเนื่องจนเกิดค่านิยมร่วมกัน อันนำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยขององค์กรที่ยั่งยื่น