การเกิดอุบัติภัยในโรงงานอุตสาหกรรม สาเหตุหลักมาจากการรั่วไหลก๊าซหรือสารเคมี ซึ่งความรุนแรงหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นมักขึ้นอยู่กับชนิดของก๊าซหรือสารเคมี ที่รั่วไหล ถ้าสิ่งที่รั่วไหลเป็นก๊าซไวไฟก็จะทำให้เกิดเหตุไฟไหม้ การระเบิด แต่ถ้าเป็นก๊าซพิษก็จะทำให้เกิดพิษ อันตรายต่อคนและสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบันปัญหาการประสบอันตรายจากการทำงานและความสูญเสียที่เกิดขึ้นยังมีความรุนแรงและก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากขึ้นถึงแม้กระทรวงแรงงานได้พยายามหามาตรการดำเนินการ เพื่อให้สถานประกอบกิจการดำเนินการลดการประสบอันตรายด้วยตนเอง ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมมาตลอด
ปัจจุบันทั้งภาครัฐและเอกชนมีโครงการใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายหลายโครงการ ทั้งในเขตกรุงเทพและต่างจังหวัด เช่น รถไฟฟ้า อาคารสำนักงาน บ้านจัดสรร และคอนโดมิเนียม ล้วนแต่มูลค่าการก่อสร้างสูงๆทั้งนั้น สำหรับจุดประสงค์ในการก่อสร้าง นอกจากจะต้องให้แล้วเสร็จในเวลาที่กำหนดและมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับจากลูกค้าหรือเจ้าของงานแล้ว เป้าหมายอีกประการหนึ่ง คือไม่ให้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นระหว่างที่ดำเนินการก่อสร้าง เพราะหมายถึงการสูญเสียทั้งทางตรงและทางอ้อม
การรวมตัวของประเทศอาเซียนที่มุ่งเน้นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายบริการ การลงทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรีมากยิ่งขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาดังกล่าวจะเป็นแรงกดดันอย่างมากต่อมาตรการและระบบควบคุมและการป้องกันสภาพแวดล้อมและผลกระทบที่อาจจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ดังนั้นเพื่อเป็นการระดมพลังและพัฒนาความร่วมมือในการดำเนินงานทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยใน Asean จึงได้มีการก่อตั้งเครือข่ายความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของอาเซียน (ASEAN Occupational Safety and Health Network; ASEAN-OSHNET) ขึ้น
งานก่อสร้างเป็นงานที่มีผู้รับเหมาเป็นจำนวนมาก ยิ่งไปกว่านั้นในพื้นที่ก่อสร้างยังเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในเรื่องความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา และมีอันตรายสูงกว่าพื้นที่ที่เป็นโรงงานทั่วไป ทำให้ต้องมีการบริหารจัดการความปลอดภัยในการก่อสร้าง เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งในส่วนงานก่อสร้างนี้ควรปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างเป็นการปฏิบัติขั้นต่ำที่สุดเพื่อให้เกิดความปลอดภัย
© 2024 TOSH