สรุปผลรวมการจัดงาน
ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๑
“Safety Thailand Safety Together ร่วมแรงร่วมใจ ประเทศไทยปลอดภัย”
ระหว่างวันที่ ๒๙ มิถุนายน -๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐
ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร
กระทรวงแรงงาน กำหนดจัดงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๑ ขึ้นระหว่างวันที่ ๒๙ มิถุนายน - ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ภายใต้ธีมงาน “Safety Thailand Safety Together ร่วมแรงร่วมใจ ประเทศไทยปลอดภัย” โดยกิจกรรมภายในงานประกอบด้วยการสัมมนาวิชาการ การแสดงนิทรรศการและการสาธิต การจัดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยและสาระบันเทิงอื่นๆ
การจัดงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๑ ถือเป็นส่วนหนึ่งภายใต้การบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการโครงการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของประเทศไทย (Safety Thailand) ของ ๑๐ กระทรวงหลัก อันได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สร้างการตระหนักรู้ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยให้เกิดขึ้นในสังคม
พิธีเปิดงาน
- ในวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ โดย พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธี และปาฐกถาหัวข้อ “ร่วมแรงร่วมใจ ประเทศไทยปลอดภัย”
- การมอบรางวัล (ในพิธีเปิดงาน)
- พิธีมอบรางวัลแก่สถานประกอบกิจการที่ผ่านเกณฑ์การประกาศเกียรติคุณกิจกรรมการรณรงค์ลดสถิติอุบัติเหตุจากการทำงานให้เป็นศูนย์ ประจำปี ๒๕๖๐ (Zero Accident Campaign 2017) จำนวน ๒๕๘ รางวัล ประกอบด้วย
ระดับแพททินั่ม จำนวน ๙ แห่ง โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ระดับทอง จำนวน ๔๐ แห่ง โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ระดับเงิน จำนวน ๙๐ แห่ง โดย หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน
ระดับทองแดง จำนวน ๑๑๙ แห่ง โดย นายอาทิตย์ อิสโม ประธานกรรมการบริหารสถาบัน ส่งเสริมความปลอดภัยฯ
- พิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณสถานประกอบกิจการ SMEs ที่ผ่านเกณฑ์ตามโครงการนำร่องระบบมาตรฐานความปลอดภัยฯ ใน SMEs จำนวน ๙ แห่ง โดยนายอาทิตย์ อิสโม ประธานกรรมการบริหารสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ
- พิธีมอบรางวัลด้านการส่งเสริมความปลอดภัย การประกวดโปสเตอร์ Info Graphic จำนวน ๕ รางวัล โดยนายอาทิตย์ อิสโม ประธานกรรมการบริหารสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ
- การมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่ผู้สนับสนุนกาจัดงานจากภาคเอกชน ๔ ราย โดยนายอาทิตย์ อิสโม ประธานกรรมการบริหารสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ
- การจัดสัมมนาวิชาการ
มีการสัมมนาทางวิชาการ ๕ ห้องย่อย เป็นเรื่องเชิงนโยบายภาพกว้างของประเทศ
วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ เวลา ๑๓.๐๐-๑๕.๐๐ น. ก่อนเปิดพิธีอภิปราย หัวข้อ “Safety Thailand Safety Together ร่วมแรงร่วมใจ ประเทศไทยปลอดภัย” โดยปลัดกระทรวงร่วมขับเคลื่อน Safety Thailand ๖ กระทรวง ดำเนินรายการโดยคุณกำภู-รัชนีย์ (จากรายการเดินหน้าประเทศไทย)
วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๐ มี ๕ ห้องย่อย ๑๒ หัวข้อ แต่ละห้องเป็นการขับเคลื่อน Safety Thailand ในแต่ละด้าน ได้แก่ ความปลอดภัยในการก่อสร้าง การป้องกันอัคคีภัย ความปลอดภัยในการทำงานสารเคมี การขับเคลื่อนด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยการขนส่งทางถนน
วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ มี ๕ ห้องย่อย ๑๒ หัวข้อ ที่เกี่ยวกับมาตรฐานการจัดการที่เกี่ยวข้อง การตอบโต้ทางฉุกเฉิน การพัฒนางานวิจัย และเป็นเวทีของเครือข่ายความปลอดภัย นายจ้าง ลูกจ้าง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
ผู้เข้าร่วมสัมมนาวิชาการ จำนวน ๑,๙๗๓ คน แบ่งเป็นกลุ่มผู้ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนการลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนาจากกองทุนเงินทดแทน จำนวน ๑,๐๕๐ คน และกลุ่มผู้ที่ชำระค่าลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนา จำนวน ๙๒๓ คน
- การแสดงนิทรรศการ
- ใช้พื้นที่ ๙,๖๐๐ ตารางเมตร ในการจัดคูหานิทรรศการจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ประมาณ ๑๕๐ คูหา โดยมีโซนสำคัณได้แก่ คูหา Safety Thailand ความปลอดภัยสารเคมี อัคคีภัย การก่อสร้าง และความปลอดภัยจราจร คูหาผลงานของสถาบันการศึกษา ๒๐ แห่ง และคูหาหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
๑) การแสดงนิทรรศการผลงานทางวิชาการของสถานศึกษาที่มีการเรียนการสอนด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย จำนวน ๑๘ แห่ง
๒) การแสดงนิทรรศการจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น สำนักงานประกันสังคม กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นต้น
๓) การแสดงนิทรรศการจากสมาคมและชมรมที่ดำเนินการเกี่ยวเนื่องกับความปลอดภัยในการทำงาน เช่น สมาคมการยศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นต้น
ผู้เข้าร่วมงานตลอด ๓ วัน รวมจำนวน ๕๒,๖๐๘ คน (วันแรก ๒๔,๐๑๑ คน วันที่สอง ๑๗,๑๙๐ คน และวันสุดท้าย ๑๑,๔๐๗ คน)
๕. กิจกรรมเวทีกลาง บริเวณห้องนิทรรศการ
จัดให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบสาระบันเทิง ตลอดทั้ง ๓ วัน เช่น
วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๐
- Safety Talk “กันภัยดีกว่ากู้ภัย เสียงจากใจคนกู้ชีพ” โดย ฝันเด่น จรรยาธนากร
- Safety Talk “สร้างสำนึกความปลอดภัย จากใจนักแข่ง” โดย ฟิลม์ รัฐภาคย์ วิไลโรจน์ และโฟล์ท รัฐพงษ์ วิไลโรจน์
วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๐
- การประกวด Brand Ambassador “Safety Smart & Smile Contest 2017” รอบตัดสินซึ่งมี ๒ ประเภท คือ
- ประเภทนักศึกษา Young Safety Smart 2017
มีผู้เข้าประกวดทั้งหมด จำนวน ๑๐ คน
ผู้ชนะเลิศ ได้แก่ นายชนินทร์ ทนคง จากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต และนางสาวปภาวศรี สมณะ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - ประเภท จป. Safety Smart 2017
มีผู้เข้าร่วมประกวดทั้งหมด จำนวน ๗ คน
ผู้ชนะเลิศ ได้แก่ นายภัทรพล แสงนาค จากบริษัท เอ็นเอ็มบี มินีแบ (ประเทศไทย) จำกัด และนางสาวชัชฎา มะพล จากบริษัท 3M (ประเทศไทย) จำกัด
- Safety Talk “พลิกชีวิต พิชิตความปลอดภัย ใคร ๆ ก็ทำได้” บุ๋ม ปนัดดา วงษ์ผู้ดี
วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐
- Safety Talk “หัวใจที่มุ่งมั่นกับการสร้างฝันการทำงาน” คุณเกสรา อินแก้ว สตรีพิการจากศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานจังหวัดปทุมธานี
- การแสดงมินิคอนเสริต์ “เอิ้นขวัญ วรัญญา”
๖. กิจกรรมเซฟตี้แรลลี่
เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการเล่นเกมส์ และให้ผู้ร่วมเล่นเกมส์ได้เดินชมทั่วบริเวณงานเพื่อมารับแลกของรางวัลมากมาย
๗. การประกวดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยฯ
๗.๑ การประกวดนวัตกรรม (OSH Innovation) มีผลงานเข้าประกวด ๑๗ ผลงาน ซึ่งมีผลงานที่ผ่านการคัดเลือกในระดับดี จำนวน ๕ ผลงาน
ผลงานที่ ๑ ชื่อ “การถอด-ประกอบประตู ไม่ใช่เรื่องยาก” จากบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด โรงงานบ้านโพธิ์
ผลงานที่ ๒ ชื่อ “โฟล์คลิฟท์ Karakuri” จากบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด โรงงานบ้านโพธิ์
ผลงานที่ ๓ ชื่อ “ให้เพื่อช่วยยก” จากบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด โรงงานบ้านโพธิ์
ผลงานที่ ๔ ชื่อ “อุปกรณ์ลดความเสี่ยงจากการถูกหนีบทับ” จากบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด โรงงานบ้านโพธิ์
ผลงานที่ ๕ “การกำจัดไฟฟ้าสถิตเครื่องพิมพ์สี” จากบริษัท เทคนิคกราเวียร์ จำกัด
๗.๒ การประกวดโปสเตอร์ความปลอดภัย มีผลงานเข้าประกวด ๕๔ ผลงาน