เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2564 เวลา 10.00 น. ที่ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมเพื่อตรวจเยี่ยมมอบนโยบายและติดตามผลการดำเนินงานของกระทรวงแรงงาน โดยมี นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ศาสตราจารย์นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมจอมพล ป. พิบูลสงคราม ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน
โดยรองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ขอขอบคุณ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานทุกท่าน ที่ร่วมแรงร่วมใจให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด -19 อย่างเต็มความสามารถ สิ่งสำคัญคือ ต้องร่วมกันป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ในวงกว้าง และบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอเน้นย้ำการทำงานเพิ่มเติมในประเด็นต่างๆ ดังนี้
- การเฝ้าระวัง และการป้องกันการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานต่างด้าว ชะลอการนำเข้าแรงงานต่างด้าว และการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวภายในประเทศ ให้มีประสิทธิภาพ
- กำหนดมาตรการผ่อนผันแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 ให้มีความรัดกุมในทุกขั้นตอน เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19
- กำหนดมาตรการเฝ้าระวัง ตรวจสอบ คัดกรองโรคโควิด – 19 ให้ครอบคลุม ในทุกสถานประกอบการ
- เร่งรัด ให้ความช่วยเหลือ ผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ให้ทันต่อสถานการณ์
- กำหนดมาตรการ ให้ความช่วยเหลือ เพื่อรักษาสภาพการจ้างงาน และส่งเสริมการจ้างงาน ให้ครอบคลุม ทั้งแรงงานในระบบ และนอกระบบ รวมทั้งให้มีมาตรการช่วยเหลือในเรื่องของการฝึกอาชีพ เพื่อยกระดับทักษะฝีมือ และหางานให้ทำอย่างรวดเร็วที่สุด
- ยกระดับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ สู่ Tier 1 เพื่อให้เป็นตามมาตรฐานสากลและองค์การระหว่างประเทศ
- สำหรับการขยายตลาดแรงงานในต่างประเทศวันนี้ได้ Video Conference ไปยังสำนักงานแรงงานในต่างประเทศด้วย เพื่อเป็นการส่งเสริมการจ้างงานขอให้สำนักงานแรงงานในต่างประเทศหาตำแหน่งงานว่าง เพื่อรองรับแรงงานไทยที่จะไปทำงานในต่างประเทศให้มีรายได้และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศหลังสถานการณ์โรคโควิด – 19 คลี่คลาย
- มาตรการช่วยเหลือและเยียวยาผู้ว่างงานขอให้เร่งรัดการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานให้แก่ผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบให้ครบถ้วนไม่ตกหล่น รวมทั้งให้มีมาตรการช่วยเหลือในเรื่องของการฝึกอาชีพ เพื่อยกระดับทักษะฝีมือและหางานให้ทำอย่างเร็วที่สุด
- ให้ดูแลและเร่งรัดดำเนินการชดเชยการขาดรายได้ของแรงงาน