ความเป็นมาของโครงการ
ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔ มาตรา ๕๒ กำหนดให้กระทรวงแรงงาน จัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตรา ๘ ได้ระบุอำนาจหน้าที่ของสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) ซึ่งอำนาจหน้าที่หนึ่ง คือ การพัฒนาและสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ( ตัวอย่างผลการประกวดปี ๒๕๖๐ ตัวอย่างผลการประกวดปี ๒๕๖๑ )
วัตถุประสงค์ของการประกวด
สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) (สสปท.) ดำเนินการจัด “โครงการประกวดนวัตกรรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และการปรับปรุงสภาพการทำงานในสถานประกอบกิจการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย อีกทั้งเพื่อส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับความปลอดภัยและอาชีวอนามัย เพื่อป้องกันการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานของลูกจ้าง และสร้างกำลังใจให้กับบุคคลหรือคณะผู้คิดค้นและจัดทำผลงานนวัตกรรมผลงานการปรับปรุงสภาพการทำงาน และผลงานด้านแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
รางวัลนี้ไม่เพียงแต่ช่วยเป็นกำลังใจให้กับผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ดผลงานนวัตกรรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยเท่านั้น แต่ยังเป็นการกระตุ้นจิตสำนึกให้สังคมสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรม โดยคำนึงถึงประเด็นด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยด้วย รวมถึงช่วยให้ผู้ที่ทำงานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยได้มีโอกาส แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ แนวทางในการแก้ไขปัญหา และเพิ่มความเข้าใจในการต่อยอดผลงานร่วมกัน รวมถึงสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็น “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย”
เกณฑ์การรับผลงานเข้าร่วมประกวด
ผลงานนวัตกรรม ผลงานการปรับปรุงสภาพการทำงาน และผลงานด้านแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ที่จะเข้ารับการพิจารณาจะต้องเป็นการออกแบบหรือปรับปรุงวัตถุ สิ่งของ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ยานพาหนะ สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับการทำงาน โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับความปลอดภัยและอาชีวอนามัยเท่านั้น
- เป็นผลงานที่มีการใช้จริงในสถานประกอบกิจการ
- เป็นผลงานที่สามารถลดความเสี่ยงได้จริง โดยสามารถแสดงผลการลดความเสี่ยงในการทำงานและมีการเปรียบเทียบข้อมูลก่อน – หลังการดำเนินงานจัดทำผลงานได้
กลุ่มเป้าหมาย
- ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน และเครือข่ายด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
เอกสารแนะนำในการส่งผลงานเข้าประกวด
แบบนำเสนอผลงานนวัตกรรมความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
แบบกรอกข้อมูลและคำรับรองจากนายจ้าง
คำอธิบายระดับคะแนนเกณฑ์การประเมินผลงาน
ประเภทรางวัล
๑. ประเภทผลงานด้านนวัตกรรม (OSH Innovation Award)
๑.๑ รางวัลผลงานดีเด่น (Best OSH Innovation Awards)
- โล่ประกาศเกียรติคุณ สำหรับสถานประกอบกิจการที่ส่งผลงาน
- ใบประกาศเกียรติคุณ สำหรับบุคคลหรือคณะผู้จัดทำผลงาน
- เงินรางวัล: รางวัลละ ๑๕,๐๐๐ บาท
๑.๒ รางวัลผลงานดี (Good OSH Innovation Awards)
- ใบประกาศเกียรติคุณ สำหรับสถานประกอบกิจการที่ส่งผลงาน
- เงินรางวัล: รางวัลละ ๑๐,๐๐๐ บาท
๒. ประเภทผลงานด้านการปรับปรุงสภาพการทำงาน (OSH Improvement Award)
๒.๑ รางวัลผลงานดีเด่น (Best OSH Improvement Award)
- โล่ประกาศเกียรติคุณ สำหรับสถานประกอบกิจการที่ส่งผลงาน
- ใบประกาศเกียรติคุณ สำหรับบุคคลหรือคณะผู้จัดทำผลงาน
- เงินรางวัล: รางวัลละ ๕,๐๐๐ บาท
๒.๒ รางวัลผลงานดี (Good OSH Improvement Award)
- ใบประกาศเกียรติคุณ สำหรับสถานประกอบกิจการที่ส่งผลงาน
- เงินรางวัล: รางวัลละ ๓,๐๐๐ บาท
๓. ประเภทผลงานด้านแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัย (Best Practice Award)
๓.๑ รางวัลผลงานดีเด่น (Best Practice Award)
- โล่ประกาศเกียรติคุณ สำหรับสถานประกอบกิจการที่ส่งผลงาน
- ใบประกาศเกียรติคุณ สำหรับบุคคลหรือคณะผู้จัดทำผลงาน
- เงินรางวัล: รางวัลละ ๕,๐๐๐ บาท
๒.๒ รางวัลผลงานดี (Best Practice Award)
- ใบประกาศเกียรติคุณ สำหรับสถานประกอบกิจการที่ส่งผลงาน
- เงินรางวัล: รางวัลละ ๓,๐๐๐ บาท
หมายเหตุ
- รางวัลผลงานดีเด่น หมายถึง ผลงานที่ผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาผลงาน แล้วได้รับผลคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ ๘๕.๐๐ ขึ้นไป โดยทุกดัชนีของเกณฑ์การประเมินจะต้องมีผลการประเมิน ในระดับที่ไม่ต่ำกว่า ๓ คะแนนจากคะแนนเต็ม ๕ คะแนน
- รางวัลผลงานดี หมายถึง ผลงานที่ได้รับผลคะแนนเฉลี่ยระหว่างร้อยละ ๗๐.๐๐ – ๘๔.๙๙ โดยทุกดัชนีของเกณฑ์การประเมินจะต้องมีผลการประเมินในระดับที่ไม่ต่ำกว่า ๓ คะแนน จากคะแนนเต็ม ๕ คะแนน หรือกรณีได้รับผลคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ ๘๕.๐๐ ขึ้นไป แต่มีผลคะแนนบางดัชนีของเกณฑ์การประเมินน้อยกว่า ๓ คะแนน จากคะแนนเต็ม ๕ คะแนน
เกณฑ์ที่จะใช้ในการประเมินผลงาน
เกณฑ์ที่จะใช้ในการประเมินผลงานนวัตกรรม(OSH Innovation Award)แบ่งออกเป็น ๖ หัวข้อ ดังนี้
๑. ช่วยเพิ่มความปลอดภัย และ/หรือช่วยส่งเสริมสุขภาพ และ/หรือช่วยลดความเสี่ยงด้านการยศาสตร์
๒. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
๓. การใช้หลักวิชาการในการดำเนินงานจัดทำผลงาน
๔. ประสิทธิภาพ และค่าใช้จ่ายในการลงทุน
๕. ความยากง่ายในการใช้งาน
๖. ความชัดเจนของข้อมูลและการนำเสนอผลงาน
เกณฑ์ที่จะใช้ในการประเมินผลงานด้านการปรับปรุงสภาพการทำงาน (OSH Improvement Award) และด้านแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัย (Best Practice Award)แบ่งออกเป็น ๕ หัวข้อดังนี้
๑. ช่วยเพิ่มความปลอดภัย และ/หรือช่วยส่งเสริมสุขภาพ และ/หรือช่วยลดความเสี่ยงด้านการยศาสตร์
๒. การใช้หลักวิชาการในการดำเนินงานจัดทำผลงาน
๓. ประสิทธิภาพ และค่าใช้จ่ายในการลงทุน
๔. ความยากง่ายในการใช้งาน
๕. ความชัดเจนของข้อมูลและการนำเสนอผลงาน
การประเมินผลงานในแต่ละดัชนีแบ่งระดับคะแนน ๐ – ๕
ดัชนีการประเมิน |
ระดับคะแนนการประเมิน |
น้ำหนัก |
|||||
ช่วยเพิ่มความปลอดภัย และ/หรือช่วยส่งเสริมสุขภาพ และ/หรือช่วยลดความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ |
๐ |
๑ |
๒ |
๓ |
๔ |
๕ |
๖ |
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ |
๐ |
๑ |
๒ |
๓ |
๔ |
๕ |
๖ |
การใช้หลักวิชาการในการดำเนินงานจัดทำผลงาน |
๐ |
๑ |
๒ |
๓ |
๔ |
๕ |
๕ |
ประสิทธิภาพ ค่าใช้จ่ายในการลงทุน |
๐ |
๑ |
๒ |
๓ |
๔ |
๕ |
๕ |
ความยากง่ายในการใช้งาน |
๐ |
๑ |
๒ |
๓ |
๔ |
๕ |
๔ |
ความชัดเจนของข้อมูลและการนำเสนอผลงาน |
๐ |
๑ |
๒ |
๓ |
๔ |
๕ |
๓ |
หมายเหตุ : ดาวน์โหลดเกณฑ์การประเมินผลงาน
เงื่อนไขการส่งผลงาน
- ผลงานจะต้องเป็นผลงานที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการดำเนินการออกแบบหรือปรับปรุงวัตถุ สิ่งของ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ยานพาหนะ สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับการทำงาน โดยเป็นการออกแบบ หรือปรับปรุงที่สามารถมองเห็น สัมผัส จับต้องได้ และใช้งานได้จริง ซึ่งมีการนำหลักวิชาการที่ถูกต้องเข้ามาใช้ในการออกแบบ หรือปรับปรุง และเมื่อนำมาใช้งานจะต้องก่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีสุขภาพอนามัยดีมีความสะดวกสบายในการปฏิบัติงาน และอาจสามารถเพิ่มผลผลิตได้ด้วย การออกแบบ หรือปรับปรุงดังกล่าว จะต้องสามารถนำไปเป็นตัวอย่างให้แก่สถานประกอบกิจการอื่นได้
- ผลงานที่ส่งเข้าประกวด จะต้องมีข้อมูลและรายละเอียดตามแบบฟอร์มของคณะกรรมการพิจารณาผลงานนวัตกรรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ดังนี้
- แบบนำเสนอผลงานนวัตกรรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย(F-OSH-001) โดยผู้ส่งผลงานจะต้องกรอกแบบนำเสนอผลงานให้ครบถ้วนสมบูรณ์
- ไฟล์วีดีโอหรือรูปภาพก่อนและหลังการดำเนินงานจัดทำผลงาน
- แบบกรอกข้อมูลและคำรับรองจากผู้บริหารหน่วยงานในการส่งผลงานเข้าประกวด(F-OSH-002)ซึ่งจะต้องมีลายเซ็นของผู้บริหารหน่วยงาน ลงนามอนุญาตให้นำผลงานไปเผยแพร่ได้
ส่งแบบนำเสนอผลงาน
กำหนดการส่งแบบนำเสนอผลงานภายในวันศุกร์ที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
- ส่งทางอีเมล์
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
- ส่งด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์
(กรณีส่งทางไปรษณีย์ให้ถือวันประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ)
ส่งมาที่
สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน)
(สำนักวิจัยและพัฒนา)
เลขที่ 18 ถนนบรมราชชนนี แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170
(วงเล็บมุมซองว่า "ประกวดนวัตกรรมความปลอดภัยและอาชีวอนามัย")
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
- โทร. ๐๒ ๘๘๕ ๒๓๘๓-๔
หมายเหตุ
- สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
หมายเลขโทรศัพท์ ๐๒ ๘๘๕ ๒๓๘๓-๔ หรือทาง E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. - คณะกรรมการพิจารณาผลงานนวัตกรรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ขอสงวนสิทธิ์ไม่รับพิจารณาผลงานส่งเข้าประกวดที่ไม่มีไฟล์วีดีโอหรือรูปภาพก่อนและหลังการดำเนินงานจัดทำผลงาน
- ผลงานที่ส่งเข้ารับการพิจารณาในครั้งนี้ ให้ถือการตัดสินของคณะกรรมการพิจารณาผลงานนวัตกรรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยเป็นข้อยุติ
การประกาศผล
- วันจันทร์ที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๒
ผ่านเว็บไซต์ www.tosh.or.th และเฟสบุ๊ค สสปท-TOSH
การรับรางวัล
- รับรางวัลจัดในงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๓ ระหว่างวันที่ ๔-๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ
ประกาศผลการประกวดผลงานนวัตกรรมความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (OSH Innovation Awards 2019)