ขยายเวลารับสมัคร
ขอเชิญส่งผลงานเข้าร่วมพิจารณาโครงงานพัฒนานวัตกรรม
ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
ชิงเงินรางวัล โล่ประกาศเกียรติคุณ และประกาศนียบัตร ประจำปี 2566
สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ ขอเชิญชวนสถานประกอบกิจการ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน สถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่สนใจ ร่วมส่งผลงานเข้าร่วมพิจารณาโครงงานพัฒนานวัตกรรมด้านความปลอดภัยและอาชีพในสถานประกอบกิจการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยและลดการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานของผู้ปฎิบัติงาน
การแบ่งประเภทผลงาน
หลักเกณฑ์การแบ่งประเภทผลงาน
1. ประเภทสถานประกอบกิจการ (กลุ่มทั่วไป)
- สถานประกอบกิจการในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชน โดยต้องมีเจ้าของผลงาน/หัวหน้าคณะผู้จัดทำผลงานเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ และได้รับความยินยอมในการส่งผลงานจากผู้บังคับบัญชา
- สถานประกิจการภาคเอกชน ต้องเป็นนิติบุคคล
- บุคคลทั่วไป สามารถส่งผลงานในประเภทการพิจารณานี้ได้
- สถานประกอบกิจการที่สนใจจะส่งผลงานนวัตกรรม ไม่สามารถที่จะส่งผลงานเพื่อพิจารณาในประเภทสถานศึกษาได้
2. ประเภทสถานศึกษา (เยาวชน)
- สถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน สามารถส่งผลงานเข้าร่วมได้ โดยต้องมีอาจารย์หรือผู้ดูแลรับรองการส่งผลงาน
- สถานศึกษาที่ส่งผลงานที่ได้รับทุนการพัฒนาผลงานทั้งในระดับชาติและนานาชาติ สสปท. จะดำเนินการเปลี่ยนประเภทการพิจารณาเป็นกลุ่มสถานประกอบกิจการ (กลุ่มทั่วไป)
- สถานศึกษาที่ประสงค์จะส่งผลงานพิจารณาในประเภทสถานประกอบกิจการ (กลุ่มทั่วไป) สามารถส่งผลงานเข้าร่วมการพิจารณาในประเภทนี้ได้ เป็นไปตามดุลยพินิจของสถานศึกษานั้น ๆ
เงื่อนไขการรับผลงานเข้าร่วมพิจารณา
- เป็นโครงงานที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการดำเนินการออกแบบหรือปรับปรุงวัตถุ สิ่งของ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ยานพาหนะ สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับการทำงาน โดยเป็นการออกแบบ หรือปรับปรุงที่สามารถมองเห็น สัมผัส จับต้องได้ และใช้งานได้จริง ซึ่งมีการนำหลักวิชาการที่ถูกต้องเข้ามาใช้ในดำเนินงาน และเมื่อนำมาใช้งานจะต้องก่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีสุขภาพอนามัยดีมีความสะดวกสบายในการปฏิบัติงาน และอาจสามารถเพิ่มผลผลิตได้ด้วย การออกแบบ หรือปรับปรุงดังกล่าว จะต้องสามารถนำไปเป็นตัวอย่างให้แก่สถานประกอบกิจการอื่นได้
- เป็นโครงงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้น หรือกระบวนการทำงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและ อาชีวอนามัยเท่านั้น
- เป็นโครงงาน/โครงการ/ผลงานที่ดำเนินการผลิตและทดสอบแล้วเสร็จหรือยังอยู่ระหว่างดำเนินงานก็ได้
- สามารถใช้ได้จริงในสถานประกอบกิจการ หรือสามารถพัฒนาให้ใช้งานได้จริงในสถานประกอบกิจการ
- สามารถลดความเสี่ยงและการประสบอันตรายจากการทำงานได้จริง
- ผลงานที่นำเสนอต้องไม่เคยผ่านการรับรางวัลที่ใดมาก่อน
- ผลงานที่นำเสนอต้องเป็นผลงานที่ถูกพัฒนาขึ้นไม่เกิน 3 ปี
- ผลงานที่นำเสนอต้องยินยอมที่จะนำเสนอในงานสัมมนาด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยระดับนานาชาติ (OAIC) และเผยแพร่ลงบนนิตยสารความปลอดภัย OSHE Magazine เพื่อแบ่งปันแนวคิดด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแก่ผู้ที่สนใจ
- ผลงาน/โครงงานที่ผ่านการพิจารณาตามคุณสมบัติ หากได้รับการพิจารณาในการพัฒนาต่อยอด ต้องร่วมมือกับสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ ในการพัฒนาต่อยอดผลงานนวัตกรรมร่วมกัน
กลุ่มเป้าหมาย
- สถานประกอบกิจการทั้งส่วนของภาครัฐและเอกชน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน สถาบันการศึกษา และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
รางวัล
- สำหรับการส่งโครงงานเข้าประกวดประกอบด้วยรางวัล จำนวน 12 รางวัล ดังนี้
1. สถานประกอบกิจการ (กลุ่มทั่วไป)
1.1 ประเภทนวัตกรรมผลิตภัณฑ์
รางวัลชนะเลิศ
• โล่ประกาศเกียรติคุณ
• ใบประกาศเกียรติคุณ
• เงินรางวัลจำนวนรางวัลละ 15,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศ
• โล่ประกาศเกียรติคุณ
• ใบประกาศเกียรติคุณ
• เงินรางวัลจำนวนรางวัลละ 10,000 บาท
รางวัลชมเชย
• โล่ประกาศเกียรติคุณ
• ใบประกาศเกียรติคุณ
1.2 ประเภทนวัตกรรมกระบวนการ
รางวัลชนะเลิศ
• โล่ประกาศเกียรติคุณ
• ใบประกาศเกียรติคุณ
• เงินรางวัลจำนวนรางวัลละ 15,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศ
• โล่ประกาศเกียรติคุณ
• ใบประกาศเกียรติคุณ
• เงินรางวัลจำนวนรางวัลละ 10,000 บาท
รางวัลชมเชย
• โล่ประกาศเกียรติคุณ
• ใบประกาศเกียรติคุณ
2. สถานศึกษา
2.1 ประเภทนวัตกรรมผลิตภัณฑ์
รางวัลชนะเลิศ
• โล่ประกาศเกียรติคุณ
• ใบประกาศเกียรติคุณ
• เงินรางวัลจำนวนรางวัลละ 7,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศ
• โล่ประกาศเกียรติคุณ
• ใบประกาศเกียรติคุณ
• เงินรางวัลจำนวนรางวัลละ 3,000 บาท
รางวัลชมเชย
• โล่ประกาศเกียรติคุณ
• ใบประกาศเกียรติคุณ
2.2 ประเภทนวัตกรรมกระบวนการ
รางวัลชนะเลิศ
• โล่ประกาศเกียรติคุณ
• ใบประกาศเกียรติคุณ
• เงินรางวัลจำนวนรางวัลละ 7,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศ
• โล่ประกาศเกียรติคุณ
• ใบประกาศเกียรติคุณ
• เงินรางวัลจำนวนรางวัลละ 3,000 บาท
รางวัลชมเชย
• โล่ประกาศเกียรติคุณ
• ใบประกาศเกียรติคุณ
เกณฑ์การพิจารณาประเมินผลงาน
เกณฑ์ที่จะใช้ในการประเมินผลงานจะแบ่งออกเป็น 9 หัวข้อ คะแนนรวม 100 คะแนน ประกอบด้วย
- ที่มาและความสำคัญของปัญหาในการจัดทำผลงานนวัตกรรม (10 คะแนน)
- ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (15 คะแนน)
- การใช้หลักวิชาการในการดำเนินงานจัดทำผลงาน (10 คะแนน)
- ประสิทธิภาพ (15 คะแนน)
- ความคิดเพื่อเพิ่มความปลอดภัย และ/หรือส่งเสริมสุขภาพ (15 คะแนน)
- ความคุ้มค่า (5 คะแนน)
- ความยากง่ายในการใช้งานและความยั่งยืนในการลดอัตราการประสบอันตราย (10 คะแนน)
- การนำเสนอผลงาน (5 คะแนน)
- ความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในวงกว้าง/ความเป็นไปได้ของความสำเร็จในการดำเนินโครงงาน (15 คะแนน)
โดยกำหนดระดับค่าคะแนนดังนี้
0 = ไม่เห็นด้วย
1 = เห็นด้วยน้อยที่สุด
2 = เห็นด้วยน้อย
3 = เห็นด้วยปานกลาง
4 = เห็นด้วยมาก
5 = เห็นด้วยอย่างยิ่ง
กำหนดการพิจารณาผลงานนวัตกรรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
ประกาศผล
- ประกาศผลการคัดเลือกสถานประกอบกิจการเพื่อนำเสนอโครงงาน ภายในวันที่ 15 มีนาคม 2566 / ประกาศผลสถานประกอบกิจการที่ได้รับรางวัลโครงงานพัฒนานวัตกรรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ภายในวันที่ 28 เมษายน 2566 ผ่านเว็บไซต์ www.tosh.or.th
การรับสมัคร
โครงงานที่จะส่งเข้าพิจารณาจะต้องกรอกข้อมูลและรายละเอียดให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ผ่าน Google Form เท่านั้น โดยผู้สมัครไม่ต้องส่งเอกสารฉบับจริงมาที่ สสปท. ทั้งนี้ผู้สมัครต้องกรอกแบบฟอร์มการสมัครตามประเภทการพิจารณา ดังนี้
- แบบฟอร์มการสมัครเข้าร่วมนำเสนอผลงานโครงการพัฒนานวัตกรรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (F-OSH-001) (ผ่าน Google Form)
แบบฟอร์มการสมัครเข้าร่วมนำเสนอผลงาน ประเภทสถานประกอบกิจการ (กลุ่มทั่วไป)
แบบฟอร์มการสมัครเข้าร่วมนำเสนอผลงาน ประเภทสถานศึกษา (เยาวชน)
- หนังสือแสดงความยินยอมเข้าร่วมส่งผลงานโครงการพัฒนานวัตกรรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (F-OSH-002) (ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ในแบบฟอร์มการสมัคร ทั้งนี้ให้แสกนหรือถ่ายรูปอัพโหลดในแบบฟอร์มสมัครเข้าร่วมนำเสนอผลงาน)
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (เฉพาะ ผู้ที่ส่งผลงานในนามองค์กร/สถานประกอบกิจการ)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
หมายเลขโทรศัพท์ 02 448 9111 ต่อ 603 หรือ 06 1420 1371
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ : คุณพฤทธิพงศ์ สามสังข์ หรือ คุณรินรดา เทียมเทศ
หมายเหตุ
- กำหนดการวันรับสมัครอาจมีการปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ สถานประกอบกิจการสามารถติดตามการประกาศผ่านทางเว็บไซต์ของสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ
- การดำเนินการตัดสินอยู่ในดุลยพินิจจากคณะกรรมการ และการตัดดสินจากคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด