จากรายงานของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม พบว่าในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา ระหว่าง พ.ศ.๒๕๕๓-๒๕๕๗ จำนวนการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ที่เกิดขึ้นจากท่าทางการทำงาน พบว่า ปี ๒๕๕๓ มีจำนวน ๕,๒๓๔ ราย ปี ๒๕๕๔ จำนวน ๔,๗๕๔ ราย ปี ๒๕๕๕ จำนวน ๕๔๙๙ ราย ปี ๒๕๕๖ จำนวน ๓,๘๔๙ ราย และปี ๒๕๕๗ จำนวน ๓,๒๕๔ ราย ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวจะมีความรุนแรงมากขึ้นในภาวะการเติบโตของสังคมเมือง และแรงงานที่มีอายุมากขึ้น
ซึ่งการประสบอันตรายจากการทำงานที่เกิดขึ้นในกลุ่มคนทำงานอย่างต่อเนื่องในกลุ่มคนทำงาน ที่ต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ อันดับหนึ่งคือ การปวดหลัง รองลงมามีอาการปวดบริเวณคอ ไหล่ และปวดศีรษะตามลำดับ ซึ่งสาเหตุดังกล่าวเกิดจากท่าทางการทำงานไม่ถูกต้อง การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ ปัญหาความเครียดและปัจจัยอื่นๆ ทั้งนี้อาการของโรคจะยิ่งทวีความรุนแรง ในผู้ป่วยที่มีอาการของโรคอยู่แล้ว เช่น หมอนรองกระดูกเคลื่อน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับ ภาวะออฟฟิศซินโดรม
สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) ในฐานะหน่วยงานภายใต้กระทรวงแรงงาน ที่มีหน้าที่ ให้บริการทางวิชาการ วิจัย พัฒนา และดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และส่งเสริมสนับสนุนการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรให้มีทักษะความชำนาญในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน เล็งเห็นความสำคัญนี้ จึงจัดทำข้อเสนอโครงการโครงการป้องกันปัญหาออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ในพนักงานสำนักงานขึ้น เพื่อให้ประชาชนที่ทำงานในสำนักงาน ได้เพิ่มพูนความรู้มีความเข้าใจหลักการสำคัญ ในการปรับปรุงสภาพงาน และท่าทางการทำงานของตนให้ถูกต้อง
โดยโครงการนี้มุ่งเน้นในการส่งเสริมความรู้และพัฒนาศักยภาพบุคลากร การจัดการศึกษา และวิเคราะห์ผลกระทบในการทำงานในปัจจุบัน การจัดทำสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-learning) และการจัดฝึกอบรมให้กับหน่วยงาน และสถานประกอบการที่สนใจ โดยมีที่ปรึกษา จากสมาคมการยศาสตร์เป็นที่ปรึกษา และให้การสนับสนุนทางวิชาการ
วัตถุประสงค์
- เพื่อสร้างองค์ความรู้และความเข้าใจเรื่องสาเหตุและการป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndromes) ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย
- เพื่อสร้างวิทยากรสำหรับนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปขยายผลลงสู่การปฏิบัติให้มีความต่อเนื่องและ เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน อันจะนำไปสู่การปรับปรุงสภาพการทำงานให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานในหน่วยงาน
- เพื่อส่งเสริมให้องค์กรเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมตลอดจนการจัดสภาพแวดล้อมการทำงานที่เอื้อต่อการทำงานอย่างปลอดภัย
- เพื่อสร้างหน่วยงานต้นแบบการเรียนรู้ “ทำงานปลอดภัยไร้อาการ Office Syndrome”
คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม
- เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง ระดับหัวหน้างาน ระดับวิชาชีพ หรือเจ้าหน้าที่ฝึอบรมพนักงานในองค์กร/บริษัท
- ปฏิบัติงานอยู่ในสถานประกอบกิจการเต็มเวลา
- ต้องได้รับอนุญาตจากผู้บริหารของสถานประกอบกิจการ
- ต้องสามารถเข้ารับการอบรมได้ครบชั่วโมงตามหลักสูตร จำนวน ๒ วัน รวม ๑๒ ชั่วโมง
สิ่งที่ผู้อบรมจะได้รับ
- ผู้เข้าอบรมจะได้รับคู่มือฝึกอบรมพร้อมไฟล์สื่อการเรียนการสอนเพื่อนำไปขยายผล
- ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับวุฒิบัตร
ขั้นตอนการสมัครเข้าอบรม
๑. แจ้งชื่ออบรมโดยเลือกรุ่นที่ต้องการในตารางด้านล่าง (จำกัดสิทธิ์ ๑ ท่านสมัครได้ไม่เกิน ๑ รุ่น)
๒. สสปท. จะประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเข้ารับการอบรมในแต่ละรุ่น ก่อนวันอบรมไม่น้อยกว่า ๓ วันทำการที่เว็บไซต์ www.tosh.or.th
๓. ผู้ที่มีชื่อในประกาศรายชื่อผู้เข้ารับการอบรม ให้ดาวน์โหลด ใบอนุญาตเข้ารับการอบรม (ให้ผู้บริหารของสถานประกอบกิจการลงนามเท่านั้น) กรณีเป็น จป.วิชาชีพ ให้แนบสำเนาหนังสือรับรองการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ที่มีเลขทะเบียน จป.
๔. ให้นำเอกสารตามข้อ ๓ มามอบให้เจ้าหน้าที่ในวันเข้ารับการอบรม
ดาวน์โหลดใบอนุญาตเข้ารับการอบรม
ติดต่อสอบถาม
- งานฝึกอบรม l สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม
โทรศัพท์ ๐-๒๔๔๘-๙๑๑๑ ต่อ ๓๐๔ (คุณศุภชัย แสงพวง)
สมัครอบรม
สมัครฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย รับสมัครจำนวนจำนวนจำกัดรุ่นละไม่เกิน ๕๐ คน ดังนี้
รุ่นที่ |
วันที่จัดอบรม |
จังหวัด /สถานที่อบรม |
สมัครอบรม |
ดูรายชื่อผู้สมัคร |
ประกาศรายชื่อ |
รุ่นที่ ๑ |
๒๕ – ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๑ |
จ.ราชบุรี |
|||
รุ่นที่ ๒ |
๒ – ๓ สิงหาคม ๒๕๖๑ |
จ.ขอนแก่น |
|||
รุ่นที่ ๓ |
๙ – ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๑ |
จ.นครสวรรค์ |
|||
รุ่นที่ ๔ |
๑๖ - ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๑ |
จ.ชลบุรี |
|||
ภาพกิจกรรมการจัดอบรม รุ่นที่ ๑ จ.ราชบุรี
ภาพกิจกรรมการจัดอบรม รุ่นที่ ๒ จ.ขอนแก่น
ภาพกิจกรรมการจัดอบรม รุ่นที่ ๓ จ.นครสวรรค์
ภาพกิจกรรมการจัดอบรม รุ่นที่ ๔ จ.ชลบุรี
ตัวอย่างกำหนดการอบรม
หลักสูตร “การป้องกันปัญหาออฟฟิศซินโดรมในพนักงานสำนักงาน”
วิทยากร: รองศาสตราจารย์ ดร.สืบศักดิ์ นันทวานิช
วันที่หนึ่ง
๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. (๑) ระบบงานคอมพิวเตอร์ในสำนักงาน
- ระบบการยศาสตร์และองค์ประกอบ
- ปัจจัยการยศาสตร์ของระบบงานคอมพิวเตอร์
- ปัญหาออฟฟิศซินโดรม
(๒) ผลกระทบของปัญหาออฟฟิศซินโดรมต่อระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
- อาการปวดเมื่อยคอและไหล่
- อาการปวดเมื่อยข้อมือ
- อาการปวดเมื่อยหลังส่วนล่าง
- อาการปวดเมื่อยขาและหัวเข่า
๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. (๓) ผลกระทบของปัญหาออฟฟิศซินโดรมต่อสุขภาพตา
- อาการปวดตาและเมื่อยตา
- อาการเคืองตาและแสบตา
- อาการตาพร่าและตามัว
- อาการวุ้นในตาเสื่อม
(๔) ท่าทางในการปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในสำนักงาน
- ท่านั่งปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
- ท่านั่งปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา
วันที่สอง
๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. (๕) ท่าบริหารร่างกายสำหรับพนักงานสำนักงานที่ปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์
- ท่าบริหารคอและไหล่
- ท่าบริหารข้อมือ
- ท่าบริหารหลังส่วนล่าง
- ท่าบริหารขาและหัวเข่า
(๖) แนวทางการปรับปรุงระบบงานคอมพิวเตอร์ในสำนักงาน
- สถานีงานคอมพิวเตอร์
- อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
- สภาพแวดล้อม
- พฤติกรรมในการปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์
๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. (๗) การปรับปรุงสถานีงานคอมพิวเตอร์ตามหลักการยศาสตร์: กรณีศึกษา
- ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
- การคัดเลือกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานอาสาสมัคร
- การประเมินสถานีงานคอมพิวเตอร์และท่าทางในการปฏิบัติงานของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานอาสาสมัคร
- การปรับปรุงสถานีงานคอมพิวเตอร์
- การประเมินผลการปรับปรุงสถานีงานคอมพิวเตอร์
*หมายเหตุ อาหารว่าง เวลา ๑๐.๓๐ น.-๑๐.๔๕ น. และ ๑๔.๓๐ น.-๑๔.๔๕ น.
อาหารกลางวัน เวลา ๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น.
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการอบรม (ซิปไฟล์)
กิจกรรมการอบรมปี ๒๕๖๐
สสปท. ร่วมมอบของขวัญปีใหม่ ๒๕๖๑ กับกระทรวงแรงงาน “9 ชื่นบาน แรงงานชื่นใจ”
ในชื่นที่ 8 ชื่นชีวา สสปท. มอบแอพพลิเคชั่น “Office Computer Work” เพื่อให้ ลูกจ้าง นายจ้าง ผู้ประกันตน และประชาชนทั่วไป ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ได้รู้เท่าทันอาการออฟฟิศ ซินโดรม รู้วิธีการป้องกันภาวะเสี่ยง และส่งเสริมให้จัดสภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงาน เอื้อต่อการทำงานอย่างปลอดภัย โดยเปิดให้ดาว์นโหลด Play Store ของระบบ Android ได้ตั้งแต่เมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๐ ปัจจุบันมี Rating อยู่ที่ระดับสูงสุดเต็ม 5.0 คะแนน และจะเปิดให้ดาว์นโหลดในระบบ IOS ต่อไปในเร็วๆนี้