This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111
วันศุกร์, 24 กรกฎาคม 2563 15:38

การป้องกันและระงับอัคคีภัย

เป้าหมายในการป้องกันและระงับอัคคีภัย

ลด 4 อย่าง

1. อัตราการเสียชีวิต

2. จำนวนผู้ได้รับผลกระทบ

3. ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ

4. สาธารณูปโภคที่สำคัญ และบริการสาธารณะพื้นฐาน

เพิ่ม 3 อย่าง

1. แผนยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงระดับชาติ และระดับท้องถิ่น

2. การให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศ

3. การเข้าถึงข้อมูล การแจ้งเตือนล่วงหน้า และข้อมูลความเสี่ยง

เปลี่ยน 3 อย่าง

1. เปลี่ยนความสูญเสีย เป็นเน้นที่ความเสี่ยง

2. เปลี่ยนวิธีการจัดการภัย เป็นการจัดการความเสี่ยง

3. เปลี่ยนวิธีคิดที่ว่าทำอะไร เป็นทำอย่างไร

การจัดการสถานการณ์อัคคีภัย

แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1. การจัดการก่อนเกิดภัย

  1.1 การป้องกัน และลดผลกระทบ

  1.2 การเตรียมความพร้อม

2. การจัดการขณะเกิดภัย

  2.1 การเผชิญเหตุ

  2.2 การบรรเทาทุกข์

3. การจัดการหลังเกิดภัย

  3.1 การฟื้นสภาพ

  3.2 การซ่อมสร้าง

องค์ประกอบไฟ

  • เชื้อเพลิง สารทุกชนิดที่ติดไฟได้

  • ความร้อน แหล่งกำเนินความร้อนมาจากทางกล ไฟฟ้า ความร้อน และเคมี

  • อากาศ ทั้งอากาศที่เราหายใจ และอากาศที่มีปฏิกิริยากับไฟ เช่น ไฮโดรเจน

การดับไฟ

  • ตัดความร้อน

  • ตัดเชื้อเพลิง

  • ตัดอากาศ

  • ตัดปฏิกิริยาลูกโซ่

ประเภทของไฟ

1. Class A เป็นเชื้อเพลิงพื้นฐานทั่ว ๆ ไปที่เป็นของแข็งจำพวก ไม้ กระดาษ เสื้อผ้า พลาสติก ยาง ฯลฯ เมื่อเผาไหม้แล้วจะเหลือเถ้าถ่าน

วิธีการดับไฟ : สามารถดับได้ด้วยการทำให้เย็นลง หรือการชุบน้ำ หรือสารเคมีแห้งชนิดต่าง ๆ ได้


2. Class B เป็นเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลวไวไฟ ของเหลวติดไฟ และเชื้อเพลิงที่มีสถานะเป็นก๊าซ ได้แก่ น้ำมันเบนซิน โพรเพน และแอลกอฮอล์ เมื่อเผาไหม้แล้วจะไม่เหลือเถ้าถ่าน

วิธีการดับไฟ : สามารถดับด้วยการปกคลุม ทำให้คุกรุ่น หรือการใช้สารทำลายการเกิดปฏิกิริยา


3. Class C เป็นไฟที่มีกระแสไฟฟ้า รวมอยู่กับเชื้อเพลิง เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นไฟประเภทเดียวที่ไม่เกี่ยวกับชนิดเชื้อเพลิงโดยตรง แต่ใช้กระแสไฟฟ้าที่อยู่ในเชื้อเพลิงเป็นเกณฑ์ในการจำแนก

วิธีการดับไฟ : สามารถดับไฟโดยตัดกระแสไฟฟ้า

  : ใช้สารดับเพลิงที่ไม่นำไฟฟ้า และไม่ทำอันตรายกับผู้ทำการดับเพลิง และห้ามใช้น้ำฉีดเด็ดขาด


4. Class D เป็นเชื้อเพลิงในกลุ่มโลหะเกิดการติดไฟ เช่น แมกนีเซียม เชื้อเพลิงประเภทนี้จะติดไฟยาก แต่เมื่อเกิดการลุกไหม้ขึ้นแล้วจะทำให้เกิดเพลิงไหม้ที่มีความรุนแรงมาก

วิธีการดับไฟ : สามารถดับด้วยสารเคมีแห้งชนิดพิเศษที่สามารถปกคลุม และทนต่อความร้อนสูงและห้ามใช้น้ำฉีดเด็ดขาด

 

5. Class K เป็นเชื้อเพลิงน้ำมันทำอาหาร น้ำมันพืช น้ำมันจากสัตว์ และไขมัน

วิธีการดับไฟ : สามารถดับด้วยการทำให้อับอากาศ หากไม่สามารถทำได้ ให้ใช้น้ำยาโฟมหรือทรายในการดับไฟ เครื่องดับเพลิงที่เหมาะ คือชนิดน้ำผสมสารโพแทสเซียมอะซิเตท และห้ามใช้น้ำฉีดเด็ดขาด

 

 

ประเภทของสารดับเพลิง

  

1. ผงเคมีแห้ง ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ หรือสิ่งมีชีวิตทุกประเภท เหมาะสำหรับใช้ในที่โล่งแจ้ง บ้าน อาคารขนาดใหญ่ โรงงานอุตสาหกรรม โรงเรียน ใช้ดับไฟประเภท A B C

       แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

1. ผงโซเดียมไบคาร์บอเนต + ก๊าซไนโตรเจน

2. ผงโพแทสเซียมอะซิเตท

 

2. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นก๊าซเฉื่อย ไม่ช่วยในการลุกไหม้ ไม่มีสี ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น ไม่มีพิษ หนักกว่าอากาศ 1.5 เท่า ฉีดออกมาแล้วไม่เหลือกากไว้ เก็บได้นาน ไม่เสื่อมสภาพ เหมาะสำหรับภายในอาคาร ดับไฟที่เกิดจากแก๊ส น้ำมัน และไฟฟ้า ใช้ดับไฟประเภท A B C

3. น้ำยาเหลวระเหย

  • ถังสีเขียว บรรจุน้ำยาดับเพลิงชนิด BF 2000 ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ติดไฟ เหมาะสำหรับในห้องคอมพิวเตอร์ ห้องซอฟแวร์ ห้องไฟฟ้า อาคาร สำนักงาน รถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม ที่พักอาศัย ใช้ดับไฟประเภท A B C

  • ถังสีฟ้า เหมาะสำหรับในบ้าน ดับไฟที่เกิดจากน้ำมันทอดในครัวเรือนได้ เมื่อใช้งานแล้ว ฉีดสารเคมีไม่หมด สามารถนำมาใช้ต่อจนหมดได้

4. น้ำยาโฟม บรรจุน้ำยาโฟมในถังสแตนเลส แรงดันสูง ฉีดพ่นออกมาเป็นฟอง คลุมผิวเชื้อเพลิง ทำให้อับอากาศ และลดความร้อน เหมาะสำหรับบ้านพักอาศัย ปั๊มน้ำมัน ร้านขายสี ใช้ดับไฟประเภท A B

                             

5. น้ำ สะสมแรงดัน ใช้ดับไฟประเภท A

 

องค์ประกอบการดับเพลิง

  • แผนผังอาคาร แยกแต่ละชั้น

  • กำหนดตัวบุคคล และหน้าที่

  • กำหนดตัวบุคคลเข้าดับเพลิงป้องกันการลุกลาม

  • ข้อมูลอื่น ๆ ของแต่ละฝ่ายในหน่วยงาน เช่น การกำหนดเครื่องมือดับเพลิงเบื้องต้น

 

ก่อนเกิดภัย

แผนการฝึกซ้อมแผนป้องกัน และระงับอัคคีภัย

แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. การฝึกซ้อมเชิงอภิปราย

  • เน้นการหารือ อภิปรายแผน มาตรการ วิธีปฏิบัติ
  • เน้นประเด็นยุทธศาสตร์ นโยบายของหน่วยงาน
  • ไม่มีการเคลื่อนย้ายทรัพยากรใด ๆ

2. การฝึกซ้อมเชิงปฏิบัติการ

  • มีการเคลื่อนย้าย ระดมทรัพยากร และบุคลากร
  • มีความซับซ้อน นำแผนนโยบาย และมาตรการไปสู่การปฏิบัติจริง
  • พัฒนาประสิทธิภาพของบุคลากร ทีมงาน

 

ขณะเกิดภัย

แผนการอพยพหนีไฟ

ใช้ปฏิบัติในกรณีเกิดเพลิงไหม้ขั้นลุกลาม กำหนดให้มีการบัญชาการเหตุการณ์ และมีการตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน การอพยพหนีไฟ ประกอบด้วยบัญชีรายชื่อจำนวนบุคลากรในสังกัด เส้นทางอพยพหนีไฟ กำหนดจุดนัดพบ และจุดรวมพล

 

หลังเกิดภัย

แผนการฟื้นฟูบูรณะ

การบริหารจัดการให้หน่วยงานสามารถให้บริการ และเจ้าหน้าที่กลับมาปฏิบัติหน้าที่ตามปกติได้อย่างรวดเร็ว สำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อร่างกาย จิตใจ ทรัพย์สิน

 

 

 

Read 52675 times Last modified on วันศุกร์, 24 กรกฎาคม 2563 16:34

บทความที่ได้รับความนิยม