This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111
วันจันทร์, 26 กันยายน 2565 14:01

การประเมินสุขภาพลูกจ้างกรณีใช้สารเคมี

การจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและสุขภาพในการทำงาน

        การจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย (Risk Management) เป็นการดำเนินงานจัดการความเสี่ยงและการประเมินความเสี่ยงในสถานประกอบกิจการ โดยครอบคลุมถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับพนักงาน ทรัพย์สินชุมชน และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น สถานประกอบกิจการต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ จำเป็นต้องดำเนินการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย มีหลักการสำคัญในการดำเนินการ 3 ขั้นตอน ดังนี้

   ขั้นตอนที่ 1   

การชี้บ่งอันตราย (Hazard Identification) ต้องทำการแจกแจงความเสี่ยงต่าง ๆ  ที่แอบแฝงอยู่ในขั้นตอนการประกอบกิจการ โดยใช้วิธีทางเทคนิค Checklist What-if Analysis Hazard and Operability Studies (HAZOP) Fault Tree Analysis (FTA) Failure Mode and Effect Analysis (FMEA) Event Tree Analysis (ETA) JSA หรือTask Analysis

   ขั้นตอนที่ 2   

การประเมินความเสี่ยง (Risk Evaluation) หรือการจัดระดับความเสี่ยง (Risk Rating) การประเมินความเสี่ยง (Risk Evaluation) ต้องทำการวิเคราะห์ปัจจัยหรือสภาพการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้ อันตรายที่แอบแฝงอยู่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุและเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ โดยพิจารณาถึงโอกาสและความรุนแรงของเหตุอันตรายเหล่านั้น จะได้ระดับความเสี่ยง เป็นความเสี่ยงสูง ปาน กลาง ยอมรับได้ และต่ำ

   ขั้นตอนที่ 3   

การจัดทำแผนงานจัดการความเสี่ยง (Risk Treatment Plan) ต้องจัดทำแผนการดำเนินงานในการกำหนดมาตรการความปลอดภัยที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพในการจัดการความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้น มาตรการ ป้องกัน โดยพิจารณาดำเนินการวางแผนลดความเสี่ยงสูง ปานกลางให้อยู่ในระดับต่ำหรือยอมรับได้ โดยใช้หลักการ ยกเลิก ทดแทน ควบคุม รวมถึงการใช้อุปกรณ์คุ้มครองส่วนบุคคล

การประเมินความเสี่ยงสุขภาพกรณีใช้สารเคมีในสถานประกอบการ

        การประเมินความเสี่ยงสุขภาพกรณีใช้สารเคมีในสถานประกอบการ มีความสำคัญ เพราะการประเมินความเสี่ยงทำให้สามารถจัดลำดับความสำคัญในการตัดสินใจ สุขภาพลูกจ้างร่างกายและจิตใจที่เป็นปกติ  สามารถเลือกใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง เหมาะสมและปลอดภัย ส่งผลให้สถานประกอบกิจการมีความยั่งยืนในด้าน เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของลูกจ้างในกรณีใช้สารเคมีอันตราย

มีขั้นตอนดังนี้

การชี้บ่งอันตราย (Hazard Identification)

  1. การอธิบายลักษณะของอันตราย (Hazard Characterization)
  2. การประเมินการได้รับสัมผัส (Exposure Assessment)
  3. การอธิบายลักษณะความเสี่ยง (Risk Characterization)
  4. การบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk Management)  ปัจจัยสำคัญในการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของลูกจ้าง ได้แก่ ข้อมูลในการใช้ประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ ของผู้ประเมิน เครื่องมือที่ใช้ ในการประเมิน ผลการทดสอบและการตรวจวัดที่เหมาะสม
  1. การควบคุมการรับสัมผัสสารเคมี และควบคุมที่แหล่งกำเนิด การนำผลการตรวจวัดเทียบกับ ผลการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง

มาตรฐานประเมินความเสี่ยง สุขภาพลูกจ้างกรณีใช้สารเคมีอันตราย

        สถานประกอบการอุตสาหกรรม เป็นอุตสาหกรรมขั้นต้นในการผลิตสารเคมี (คิดเป็นร้อยละ 42 ของอุตสาหกรรมทั่วโลก) สถานประกอบกิจการต้องวางแผนนำไปใช้ และปฏิบัติ ตรวจสอบแก้ไขและทบทวน  การจัดการโดยจัดทำเป็นเอกสาร และปฏิบัติจริง อันคงไว้ซึ่งระบบการจัดการของมาตรฐานการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของลูกจ้าง ในกรณีใช้สารเคมีอันตราย พร้อมทั้งปรับปรุงให้เกิดประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องโดยให้สอดคล้องกับข้อกำหนดมาตรฐาน

        ข้อกำหนดที่ 1   

องค์ประกอบมาตรฐานการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพลูกจ้างในกรณีใช้สารเคมีอันตราย ประกอบด้วย

        •  คณะทำงานประเมินความเสี่ยง มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  1. มีความรู้ในงาน กิจกรรม กระบวนการผลิตที่มีการทำงานเกี่ยวกับสารเคมี
  2. มีความรู้ ความเข้าใจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  3. มีความรู้ ความเข้าใจด้านการประเมินความเสี่ยงสุขภาพลุกจ้าง กรณีใช้สารเคมี และการบริหารจัดการความเสี่ยง

        •  คณะจัดการความเสี่ยง ได้แก่ ผู้แทนฝ่ายบริหารด้านการประเมินความเสี่ยงสุขภาพลูกจ้าง เช่น ผู้จัดการฝ่ายผลิต ผู้จัดการฝ่ายซ่อมบำรุงรักษา ผู้จัดการฝ่ายบุคคล วิศวกรประจำโรงงาน
เจ้าหน้าความปลอดภัยวิชาชีพ หัวหน้างานฝ่ายต่างๆ เป็นต้น และมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  1. มีความเป็นผู้นำ
  2. มีความเข้าใจในระบบ
  3. มีความสามารถในการบริหารจัดการ
  4. มีทักษะในการสื่อสาร
  5. มีความตั้งใจและเห็นความสำคัญของการประเมินความเสี่ยง
  6. มีความสามารถในการจูงใจ  เป็นที่ยอมรับ สามารถให้ความเชื่อถือจากบุคลากรหน่วยงานอื่น ๆ ได้

      • คณะประเมินความเสี่ยง ผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ โดยคัดเลือกจากผู้แทนที่มีตำแหน่งที่เกี่ยวข้อง เช่นผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ทำงาน วิศวกร ช่างซ่อมบำรุง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน เป็นต้น และมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  1. มีความเข้าใจในระบบความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  2. มีทักษะในการสื่อสาร
  3. มีความตั้งใจและเห็นความสำคัญของการประเมินความเสี่ยงฯ

       ข้อกำหนดที่ 2     

การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพลูกจ้างในกรณีใช้สารเคมีอันตราย

  1. การชี้บ่งอันตราย (Hazard  Identification)
  2. การอธิบายลักษณะของอันตราย (Hazard Characterization)
  3. การประเมินการได้รับสัมผัส (Exposure Assessment)
  4. การอธิบายลักษณะความเสี่ยง (Risk Characterization)

       ข้อกำหนดที่ 3      

การบริหารจัดการความเสี่ยง

  1. การกำจัดหรือแก้ไขความเสี่ยงโดยทันที
  2. การเพิ่ม ( ปรับปรุง/เปลี่ยนแปลง) มาตรการหรือแผนการควบคุมความเสี่ยงที่มีอยู่

 

ที่มา : สรุปการเสวนา การประเมินสุขภาพลูกจ้างกรณีใช้สารเคมี
วิทยากร
  • รศ.ดร. ประมุข โอศิริ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อาจารย์นัฐชานนท์ เขาราธ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นางสาวสุภัค ภู่ภูมิรัตน์ บริษัท ไทยอาซาฮีเคมีภัณฑ์ จำกัด

Read 3867 times Last modified on วันจันทร์, 26 กันยายน 2565 14:50

บทความที่ได้รับความนิยม