This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111
วันอังคาร, 25 เมษายน 2566 13:43

การทำงานบนที่สูงและงานคลังสินค้าขณะปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย

            การทำงานในอุตสาหกรรมและสถานประกอบการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ ธุรกิจ หลายรูปแบบ ต้องอาศัยผู้ใช้แรงงานที่ทำงานในลักษณะการ ขึ้น-ลง เพื่อทำการผูกมัดยึดเกาะวัสดุ ให้เกิดความปลอดภัยต่อทรัพย์สินต่าง ๆ นั้น โดยขาดทักษะวิธีการทำงานปฏิบัติให้ถูกต้องและปลอดภัย  เนื่องด้วยในภาวะประเทศกำลังพัฒนางานก่อสร้างและงานขนส่งสินค้า งานบางส่วนที่ต้องขึ้นลงที่สูง ทำให้มีการตกจากที่สูง และตกจากคลังสินค้าอยู่บ่อย ๆ อย่างเห็นได้ชัดเจนเสมอมาข้อมูลจากประกันสังคมกระทรวงแรงงาน มีแนวโน้มเพิ่มสูงอย่างนี้ นับว่าน่าเป็นห่วงต่อผู้ใช้แรงงานประเภทงานนี้ ที่ต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์สวมใส่ขณะปฏิบัติงานแต่ไม่มีการสวมใส่เซฟตี้เบล Safety belt ชุดกันตกจากที่สูง จึงนับว่าการสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงานของหน่วยงานทุกภาคส่วนตั้งแต่นโยบายของผู้บริหารที่ต้องจัดสรรงบประมาณจัดหาอุปกรณ์ป้องกันตกจากที่สูง และอบรมให้ถูกต้องตามกฎหมายของกระทรวงแรงงานให้ใช้อย่างจริงจัง โดยให้ผู้ปฏิบัติงานมีการตรวจร่างกายโดยแพทย์เฉพาะทางนั้นส่วนน้อย เพราะติดปัญหาเรื่องเงินค่าตรวจโรคที่ราคาแพงทำให้นายจ้างไม่ยากจ่ายเพราะเพิ่มต้นทุนสูง ทำให้พนักงานที่ทำงานนอกระบบนั้นจึงเข้าไม่ถึงการตรวจและอบรมด้านการทำงานบนที่สูง-งานคลังสินค้า จึงไม่ได้เข้ารับการอบรมอย่างสิ้นเชิง

            ส่วนภาคสถานประกอบการ ที่อยู่ในระบบที่ต้องมีการทำระบบ ISO ด้านความปลอดภัยงานบนที่สูง-คลังสินค้า นั้นมีความพร้อมหลาย ๆ สิ่งในระบบการอบรม-การตรวจสอบ-มีทักษะการปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามกฎหมาย ความปลอดภัยไม่ได้แยกกันแต่อย่างใดเลย กลุ่มพี่น้องผู้ใช้แรงงานหาเช้ากินค่ำ จึงขาดโอกาสนั้นโดยสิ้นเชิงทุกประการ 

            จากสิ่งที่ผมบรรยายมานั้นแสดงถึงการให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยในประเทศไทยยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเพราะงานประเภทนี้ส่วนใหญ่มาจากแรงงานเพื่อนบ้านเราเกือบทั้งสิ้น การสื่อสารและการเข้าใจมันไม่ใช่เลยง่ายกับการดูแลได้ทุกมุมมอง การทำงานบนที่สูง-คลังสินค้า-งานเช็ดกระจก เป็นงานที่มีความเสี่ยงแต่ทุกคนต้องทำใจว่า เสี่ยงแต่ต้องทำเพื่อความอยู่รอดของผู้ใช้แรงงานต่าง ๆ ที่ทำอาชีพนี้ นายจ้างบางรายไม่สนใจพนักงานจะปลอดภัยหรือไม่ ขอให้เกิดผลกำไรต่อธุรกิจมาก่อนเสมอ  

            ฝากถึงพี่น้องชาว จป. ต่าง ๆ เราต้องช่วยกันดูแลพร้อมหาวิธีการสื่อสารชี้แจงไปยังผู้บริหารของท่านให้ตระหนักเรื่องความปลอดภัยมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง การทำงานบนที่สูง-คลังสินค้ามีหลักปฏิบัติงานอย่างง่าย  ๆ ดังนี้

• ตรวจร่างกาย-ตรวจอุปกรณ์เซฟตี้เบล Safety belt -คล้องเกี่ยว

• ขอ-ก้าวเดินอย่างปลอดภัย

• เหนื่อย ต้องพัก

• ฝนตกฟ้าร้อง-ห้ามทำทันที

• มีปัญหารีบแจ้ง ปลอดภัยทุกคน

        การทำงานบนที่สูงนั้นต้องอาศัยอุปกรณ์ราคาสูงทุกคนต้องคอยตรวจสอบสภาพเครื่องมือให้พร้อมใช้งาน  สุดท้ายนี้การดูงานความปลอดภัย ต้องร่วมกันอย่างจริงจัง เพื่อพี่น้องมีความปลอดภัยและมีความสุขในการประกอบอาชีพงานนี้ให้ปลอดภัยตลอดไป

 มาตรการ Safety การควบคุมงานที่สูง-คลังสินค้า

 

  1. ใช้ life line ขึงแนวบน / แนวล่าง / มีแนวขวางกลาง 2 เส้น และมี life line ซึ่งตรงแนว walk way

  2. ขึง safety net และ blue sheet ป้องกันการหล่น

  3. คนงานใช้ full body safety harness (2 ตะขอ ตามมาตรฐานโรงงาน) / ผ่านการอบรมงานบนที่สูง / ตรวจสุขภาพโรคสำหรับงานที่สูง

  4. มีการ KYT / ตรวจความดัน / วัดแอลกอฮอล์ ก่อนเริ่มตรวจสอบพื้นที่เพื่อเปิด Work permit ทุกเช้า

  5. มีการตรวจสอบ safety harness และเครื่องมือก่อนใช้งานทุกครั้ง และกำชับให้คนงานเกี่ยวตะขอกับ life line ตลอด โดยมี จป.วิชาชีพ เป็น Safety คอยดูหน้างาน

  6. การมีเวลาช่วงเช้า-บ่าย อย่างน้อยครั้งละ 15 นาที

  7. มีแผนงานจุดที่กำหนดอย่างชัดเจนในแต่ละวัน

  8. มีกล้องวงจรปิดคอยสังเกตุเพื่อดูความเรียบร้อยขณะอยู่บนที่สูง

 

บทความโดย

คุณภูธนภัศ ศิธารัตน์

• ประธานกรรมการบริษัท ทีทีเอสเทรนนิ่งแอนด์เซอร์วิส จำกัด

• ผู้จัดการความปลอดภัยโครงการอาคารสูง บ.รีเจนท์ จำกัด รับผิดชอบด้านความปลอดภัยในงานก่อสร้าง

• วิทยากรด้านความปลอดภัยการทำงานบนที่สูง งานหลังคา หลายโครงการ

• วิทยากรอิสระด้านความปลอดภัยในงานก่อสร้างอาคารสูง

 

Read 2112 times Last modified on วันอังคาร, 25 เมษายน 2566 14:24

บทความที่ได้รับความนิยม