This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111
วันพฤหัสบดี, 22 สิงหาคม 2562 16:16

ความสัมพันธ์ระหว่าง Process Safety Management กับ Personal Safety สอดคล้องกันอย่างไร

 

           นโยบาย Safety Thailand เกิดขึ้นจากการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน ทรงเห็นว่าคนที่เข้ามาในกระบวนการฟื้นฟูไม่ควรจะเกิดขึ้น หากสถานประกอบกิจการมีการป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย ต้องสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้แรงงานแต่ละประเภท จึงควรป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานดีกว่าทำงานแล้วเกิดอุบัติเหตุ จึงมี กฎหมาย มาตรฐาน หรือ ข้อกำหนด ข้อแนะนำต่างๆที่จะทำให้ผู้ใช้แรงงานทุกคนทำงานอย่างปลอดภัย Process Safety Management เป็นหนึ่งในแนวทางที่ช่วยลดความรุนแรงไม่ให้เกิดวินาศภัย รวมถึงป้องกันอุบัติเหตุ ลดการบาดเจ็บ การเจ็บป่วย การสูญเสียจากการทำงาน และช่วยให้อุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน

          ซึ่งปัจจุบันการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ออกข้อบังคับว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 4)พ.ศ.2559 เพื่อให้สถานประกอบกิจการที่เข้าข่ายทำ Process Safety Management เพื่อป้องกันอุบัติภัยร้ายแรงหรือลดระดับความรุนแรง และลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิต สุขภาพ ทรัพย์สิน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

          Process Safety Management เป็นการจัดการความปลอดภัยในกระบวนการผลิตโดยใช้มาตรการทางการจัดการและพื้นฐานวิศวกรรม อุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นมักมาจากกระบวนการผลิต อุปกรณ์ การใช้สารเคมีซึ่งกระบวนการผลิต และอุปกรณ์ต่างๆถูกควบคุมและดูแลโดยคน อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มักมาจากคน เนื่องจากเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าผู้ที่ควบคุมอุปกรณ์ เครื่องจักรนั้นอยู่ คิดหรือว่าจะตัดสินใจทำอะไรที่เสี่ยงแล้วก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรือไม่ ซึ่งทำให้ต้องตระหนักว่าอุบัติเหตุที่เกิดจากคนมีความรุนแรงพอๆกับอุบัติเหตุที่เกิดจากกระบวนการผลิต ดังนั้นProcess Safety Management และ Personal Safety จึงต้องทำควบคู่กันไป

ความสัมพันธ์และความสอดคล้องระหว่าง Process Safety Management และ Personal Safety

  • มีเป้าหมายเดียวกัน
  • ทุกคนมาทำงานและกลับบ้านปลอดภัยทุกคน
  • ทุกคนดำรงไว้ซึ่งสุขภาพอนามัยที่ดีทั้งระยะสั้นและระยะยาว
  • มีวัฒนธรรมสอดคล้องกัน
  • มีภาวะผู้นำ มีความรับผิดชอบ
  • มีความเข้าใจเรื่องอันตรายและความเสี่ยง ลงมือจัดการควบคุมอันตรายและความเสี่ยง
  • ดำรงตนไว้ซึ่งความไม่ประมาท
  • ไม่ผ่อนปรนต่อพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัย
  • มีแนวปฏิบัติเดียวกัน
  • มีความใส่ใจ เอื้ออาทรกับคน เครื่องจักร
  • มีวินัยในการทำงาน
  • มีสติรู้ตัว ปัญญารู้คิด


แนวทางการขับเคลื่อนความปลอดภัยในการทำงาน

การทำ Process Safety Management และ Personal Safety ควบคู่กัน ทำได้โดย

Caring

  • คน ใส่ใจดูแล คน

  • คนใส่ใจดูแล อุปกรณ์

Discipline

  • มีวินัย ปฏิบัติตามข้อกำหนด ข้อบังคับ วิธีการดำเนินงานอย่างเคร่งครัด ไม่ผ่อนปรน

Mindful

  • ทำอย่างไรให้มาทำงานปลอดภัย ทำงานปลอดภัย กลับบ้านปลอดภัย


          การทำ Process Safety Management และ Personal Safety ควบคู่กันเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงจากทั้งกระบวนการผลิตและคนที่ควบคุมดูแลกระบวนการผลิตนั้น ซึ่งจะช่วยให้สถานประกอบกิจการปลอดภัย ในการทำ Process Safety Management ไม่จำเป็นต้องทำแค่อุตสาหกรรมปิโตรเลียม หรือสถานประกอบกิจการที่เข้าข่าย หากสถานประกอบกิจการใดที่สนใจทำและลงมือปฏิบัติจะเป็นผลดีในการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย รวมทั้งเป็นการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันอีกด้วย

 

ความเชื่อมโยงสู่การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย

         การทำ Process Safety Management หลายครั้งที่ไม่ได้รับการเอาใจใส่ เนื่องจากถูกนำไปแยกทำเดี่ยวๆและการสื่อสารที่ไม่ดีของผู้รับผิดชอบที่ทำให้ผู้บริหารไม่เข้าใจ จึงทำให้ยังเกิดอุบัติเหตุอยู่ ดังนั้นจะต้องทำให้คนที่ดูแลควบคุมอุปกรณ์ในกระบวนการผลิตเข้าใจProcess Safety Managementเพื่อเกิดความตระหนักและปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆ ได้อย่างเคร่งครัด ซึ่งจะต้องเชื่อมั่นว่าทำได้ และเป็นการสร้าง Personal Safety ให้กับพนักงานทุกคน เพื่อมุ่งไปสู่วัฒนธรรมความปลอดภัยที่สูงขึ้นขององค์กร

 

สัมมนาวิชาการ งานความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ครั้งที่ 32 l วันที่ 30 มิถุนายน 2561 ไบเทคบางนา

วิทยากร

  • นายกฤษฎา  ชัยกุล
  • นายนิคม  เกษมปุระ

 

Read 6840 times

บทความที่ได้รับความนิยม