จากการทำงาน ทำให้จินตนาการได้ไม่ยากเลยว่าในเวลาที่เราทำงานในขณะนี้มีคนมากมายแค่ไหนต้องตกอยู่ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อชีวิตแล้วหากเป็นเช่นนี้ต่อไป “ความสูญเสีย” จะมากแค่ไหน ธุรกิจล่ะจะไปต่อได้ไกลอย่างที่ต้องการ หรือจะต้องหยุดเพราะไปต่อไม่ไหว “ความสูญเสีย”ทำให้ต้นทุนการดำเนินธุรกิจสูงขึ้น จึงเป็นความท้าทายที่พาให้หลายองค์กรทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ แต่จะทำอย่างไรให้พัฒนาได้อย่างยั่งยืน
ความพยายามในการจัดการเพื่อสร้างความปลอดภัยในการทำงาน ทำให้ในปี 1999ทั่วโลกมี OHSAS 18001 เป็นมาตรฐานระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในเวลาต่อๆ มาจนปัจจุบันองค์กรทั่วโลกใน 127 ประเทศ ได้นำมาประยุกต์ใช้และพัฒนาก้าวมาอีกขั้น วันนี้มาตรฐานได้รับการพัฒนาเป็นISO 45001 กลายเป็นมาตรฐานน้องใหม่ในสังกัดISO ที่จะเข้าแทนที่ OHSAS 18001 โดยไม่ทิ้งหลักการเดิมของมาตรฐานเพื่อนำไปสู่การลดความสูญเสียจากการบาดเจ็บและเจ็บป่วยจากการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม แต่ผลักดันให้ผู้นำระบบการจัดการตามมาตรฐาน ISO 45001 มองเห็นความสำคัญของ “ความเสี่ยง” ในรูปแบบต่างๆ รอบด้านมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่ความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (OH&S risks) ยังมีความเสี่ยงในด้านอื่นๆ ทั้งที่มาจากปัจจัยหรือข้อจำกัด
จากภายในองค์กรเอง และปัจจัยจากภายนอกองค์กร รวมถึงปัจจัยด้านกฎหมาย ที่สามารถส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยและความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจทั้งเชิงบวกและเชิงลบ มาตรฐานพาให้องค์กรที่นำไปประยุกต์ใช้มองทั้งสองทางไปควบคู่กัน นั่นคือมิติใหม่ของมาตรฐานการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในนาม ISO 45001:2018
และมิใช่แค่องค์กรเอง แต่มาตรฐานน้องใหม่นี้ ยังผลักดันให้องค์กรให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะผู้เกี่ยวข้องในสายป่านธุรกิจกับองค์กรในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของการคำนึงถึงความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ลดความสูญเสียในด้านต่างๆ ทั้งความสูญเสียจากการเกิดการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย ความสูญเสียจากการหยุดชะงักของผลิตหรือให้บริการต่อลูกค้า ความสูญเสียจากการประกันภัย หรือแม้แต่การลาป่วยลาออกของผู้ปฏิบัติงาน
ISO 45001:2018 ช่วยยกระดับการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแก่องค์กรด้วยหลักการง่ายๆ คือ
จะเห็นได้ว่า หลักการดังกล่าวข้างต้นนอกจากISO 45001:2018 จะช่วยองค์กรยกระดับการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ยังได้รับการออกแบบมาตรฐานบนพื้นฐานของแนวคิดในการบูรณาการ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับมาตรฐานอื่นๆ ด้วยโครงสร้างแม่บทหลักเช่นเดียวกับระบบการจัดการอื่นๆอาทิเช่น ระบบการจัดการด้านคุณภาพ (ISO 9001:2015) ระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (ISO 14001:2015) เพื่อลดความซ้ำซ้อน ลดภาระงาน เพิ่มความสะดวกในการปฏิบัติได้จริงสำหรับองค์กรที่มีหลายมาตรฐานอีกด้วย
บทความโดย วินธัส พูลพุทธพงษ์
ตำแหน่ง ผู้จัดการสายธุรกิจอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม
บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จํากัด