จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด19 ทั่วโลก ทำให้มีผู้ป่วยสูงถึง 6,263,905 ราย และมีผู้เสียชีวิต 373,899 ราย และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สิงคโปร์มีผู้ป่วยมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างชาติ ส่วนในประเทศไทยมีผู้ป่วย 3,077 ราย เพิ่มขึ้น 1 ราย กำลังรักษาอาการอยู่ 59 ราย และมีผู้เสียชีวิต 57 ราย จังหวัดในประเทศไทยที่มีผู้ป่วยสะสมมากที่สุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต และนนทบุรี (ข้อมูล ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2563)
ทำให้เราต้องเผชิญกับภาวะวิกฤต (Crisis) จากโควิด19 ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านสาธารณสุข ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการศึกษา ด้านการสาธารณูปโภค เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตาม.....
จากวิกฤตโควิด 19 ก็ยังมีโอกาสเข้ามา ช่วยให้คนเรารู้จักปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตและการทำงานในรูปแบบใหม่ทั้งความคิด ความเชื่อ และพฤติกรรม
4 No Model :
- No Touch ลดสัมผัส ลดใกล้ชิด ลดปฏิสัมพันธ์
- No Share ลดแบ่งกัน ลดใช้ร่วม ลดใช้สาธารณะ
- No Move ลดเคลื่อนที่ ลดท่องเที่ยว ลดเดินทาง
- No Add-On ลดหรูหรา ลดหน้าตา ลดสิ่งไม่จำเป็น
เมื่อปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและการทำงานในรูปแบบใหม่ (New Normal) แล้ว เรายังได้เรียนรู้การใช้ชีวิตด้วยหลักการใหม่ ๆ (New Principles) ที่สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม (Tangible Solutions) ช่วยให้การดำเนินกิจการ/ธุรกิจ ไปต่อได้
-
Safety : ต้องปลอดภัยทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีความกังวล/ กลัวน้อยลง
-
Security : ต้องมีการตรวจเช็ค คัดกรองอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัย
-
Sending : ใช้การส่งผ่านตามช่องทางต่าง ๆ เพื่อป้องกันการรวมตัวกันและลดการเดินทาง
-
System : ใช้ระบบอินเตอร์เน็ตเข้ามาช่วย เพื่อลดการมีปฏิสัมพันธ์ ลดการใกล้ชิดและลดการเดินทาง
-
Sanook : ต้องดูแลจิตใจให้ผ่อนคลาย สร้างความสนุกให้กับชีวิต
ตัวอย่างความปลอดภัยที่จับต้องได้
- ห้างสรรพสินค้ามีนโยบายให้เช็ดทำความสะอาดบัตรจอดรถ ก่อนยื่นให้ลูกค้าทุกครั้ง
- ร้านอาหารมีการจัดที่นั่งเว้นระยะห่างและมีฉากกั้นที่โต๊ะอาหารให้แก่ลูกค้า ถึงแม้จะมาทานด้วยกัน
- สายการบินให้พนักงานต้อนรับสวมใส่ชุด PPE เพื่อความปลอดภัยและสุขอนามัย สร้างความเชื่อมั่นในบริการให้แก่ลูกค้า
Trend of Safety & Health แนวโน้มเรื่องความปลอดภัย & สุขอนามัย
จากเดิม...ที่หลายคนเคยคิดว่า ความปลอดภัยเป็นเรื่องที่ต้องทำให้ผ่านมาตรฐาน แต่ต่อไป...ต้องทำเรื่องความปลอดภัยอย่างใส่ใจและจริงจัง จะเป็นการเพิ่มมูลค่า (Value added) ให้กับองค์กร Safety & Health is not only “requirement” but also add “Value” to an organization.
แนวคิดก่อให้เกิดความรู้สึก ความรู้สึกก่อให้เกิดการกระทำ
เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำให้คนเกิดความกลัว ความวิตกกังวล แต่ก็ยอมรับฟัง ยอมรับกติกา และให้ความร่วมมือ เราจึงได้เห็นว่า พฤติกรรมของคนมีการเปลี่ยนแปลงไป มีการใส่หน้ากากอนามัย คิดก่อนทำ และมีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมมากขึ้น ดังนั้น การกระทำหรือพฤติกรรมที่ดีนั้น เริ่มต้นมาจาก “แนวคิด” เสมอ
COVID-19 VS OSHE
เมื่อเกิดวิกฤต COVID-19 เราสามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ ดังนี้
- ปรับเปลี่ยนทัศนคติ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
- เน้นความมีประสิทธิภาพ มีความยืดหยุ่น
- สร้างคุณค่าองค์กรโดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อสังคมโลกมากกว่าผลกำไร
..............................................................................................................
เนื้อหาเรียบเรียงจากการสัมมนาหัวข้อ “OSHE New Normal วิกฤต โอกาส ทางเลือกใหม่” เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2563
วิทยากร
1. พญ.วราลักษณ์ ตังคณะกุล รองผู้อำนวยการ สำนักโรคติดต่อทั่วไป หัวหน้ากลุ่มโรคติดต่อระหว่างประเทศ
2. อาจารย์ ดร. เอกก์ ภทรธนกุล ประธานหลักสูตรปริญญาโทสาขาแบรนด์และการตลาด (ภาษาอังกฤษ) จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. นางจุฑาพนิต บุญดีกุล รองผู้อำนวยการสถาบันฯ