This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111
วันพุธ, 13 มกราคม 2559 02:48

เพลิงไหม้ที่สวนสนุก “ฟอร์โมโซ ฟัน โคสต์” ประเทศไต้หวัน

มื่อวันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน 2558 เวลาประมาณ 20:40 น. (เวลาท้องถิ่น) เกิดเหตุเพลิงไหม้ซึ่งคาดว่ามีสาเหตุมาจากการระเบิดของฝุ่น ที่สวนน้ำ ในสวนสนุก 'ฟอร์โมซา ฟัน โคสต์' ที่เขตปาลี ในเมือง นิว ไทเป ประเทศไต้หวัน เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 498 คน

ในจำนวนนี้ 202 คนยังมีอาการอยู่ในขั้นวิกฤติจากการตรวจสอบในเบื้องต้นเจ้าหน้าที่เชื่อว่าเหตุระเบิดและไฟไหม้เกิดจากการฉีดสเปรย์ผงสีใส่ฝูงชนที่มาเที่ยวแต่ความร้อนจากแสงสีบนเวทีจัดแสดงทำให้ผงสีเกิดติดไฟและระเบิดขึ้นมาผู้เห็นเหตุการณ์เผยว่าผู้คนในสถานที่จัดงานไม่สามารถหนีออกจากที่เกิดเหตุได้ทันเนื่องจากผงสีที่ฟุ้งกระจายบดบังทัศนวิสัย ทำให้ไม่รู้ว่าเกิดเพลิงไหม้และในเวลานั้นผู้มาเที่ยวสวนน้ำสวมชุดว่ายน้ำหรือเสื้อผ้าบางทำให้ผิวหนังสัมผัสกับเปลวไฟโดยตรง ทำให้มีบาดเจ็บจำนวนมากจากคำให้การของพยานที่อยู่ในเหตุการณ์รายหนึ่งเป็นผู้ชายเปิดเผยว่าไฟเริ่มไหม้บนเวทีก่อนตอนแรกเขาก็คิดว่าเป็นสเปเชียลเอฟเฟกต์ของงานแต่ตอนหลังมานึกได้ว่าน่าจะมีอะไรผิดปกติเกิดขึ้นเมื่อผู้คนเริ่มส่งเสียงร้องและวิ่งหนี

"ไต้หวัน"สั่งห้ามใช้"ผงสี" ต้นเหตุ"ระเบิดที่สวนน้ำ"

เจ้าหน้าที่ยังไม่เผยสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ครั้งนี้อย่างเป็นทางการว่าเป็นผลจากการพ่นผงสีเข้าใส่ฝูงชนในงานและสารเคมีเกิดปฏิกิริยากับความร้อนที่มาจากระบบแสงไฟบนเวทีจนเกิดการระเบิดตามรายงานของสื่อมวลชนและการวิเคราะห์ของหลายฝ่ายหรือไม่แต่เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ประธานาธิบดีหม่า อิง-จิ่ว ผู้นำไต้หวัน และนายกรัฐมนตรีเหมา จื้อ-กั๋วซึ่งเดินทางไปเยี่ยมเยียนผู้ที่ได้รับบาดเจ็บตามโรงพยาบาลหลายแห่งออกคำสั่งระงับการใช้ผงสีลักษณะนี้แล้ว จนกว่าการสืบสวนคดีจะเสร็จสิ้นและมีการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญว่าไม่เป็นอันตราย
สภาพเวทีจัดงานหลังจากเกิดเหตุเพลิงไหม้

เหตุการณ์ที่คาดว่าเกิดขึ้นก่อนเกิดระเบิดและเพลิงไหม้

สรุปจากข่าวหนังสือพิมพ์และคลิปวีดีโอยูทูป https://www.youtube.com/watch?t=31&v=lcKBkNx7sBI
ลำดับเหตุการณ์ได้ดังนี้

  • จัดงานบนเวทีและจัดแสงสีเสียง เช่นเดียวกับเวทีคอนเสิร์ตทั่วไป
  • ผู้เข้าร่วมงานส่วนมากใส่ชุดสำหรับเล่นน้ำเต้นอยู่ด้านล่างเวที
  • มีการพ่นผงสีออกมาจากบนเวที (วินาทีที่ 14)
  • ผงสีส่วนหนึ่งติดไฟ (วินาทีที่ 19) และลุกลามไปตามโซนที่ผงสีถูกพ่นออกไป
  • ทางหนีมีจำกัด เข้าออกได้ทางเดียวเนื่องจากด้านข้างทั้งสองถูกปิดบังด้วยขอบเวทีสูงจึงทำให้มีผู้ถูกไฟลวกตามร่างกายจำนวนมาก

สิ่งที่คาดว่าน่าจะเป็นสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้

ถึงแม้ว่าสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ทั่วไปอาจเกิดจากหลายปัจจัย แต่สำหรับเหตุการณ์นี้ จากการสั่งการของประธานาธิบดีไต้หวันเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ให้ระงับการใช้ผงสีจนกว่าจะสอบสวนพบว่าไม่มีอันตรายนั้น ผนวกกับการลำดับเหตุการณ์จากคลิปในยูทูปในข้อ 3 จึงคาดว่า สาเหตุหลักที่น่าสงสัยมากที่สุดคือระเบิดฝุ่นสี


ระเบิดฝุ่นเกิดขึ้นได้อย่างไร

การระเบิดของฝุ่นนั้น มาพื้นฐานมาจากจากทฤษฏีสามเหลี่ยมของไฟ ที่ประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ เชื้อเพลิงแหล่งกำเนิดความร้อน และ ออกซิเจนโดยเพิ่มอีก 2 ปัจจัยคือ การฟุ้งกระจายของเชื้อเพลิง และ ขอบเขตของหมอกฝุ่น รวมเป็น 5 องค์ประกอบ เรียกว่าห้าเหลี่ยมของการระเบิดของฝุ่น (The Dust Explosion Pentagon) เชื้อเพลิง (ในที่นี้คือ ฝุ่นที่สันดาปได้ ) ที่สามารถเกิดการระเบิดได้นั้นต้องสามารถติดไฟได้มีขนาดเล็กกว่า 420 ไมครอน (µm) ตาม NFPA 654 (หน่วยงานควบคุมด้านอัคคีภัยของสหรัฐอเมริกา)และมีความเข้มข้นอยู่ในช่วงที่เหมาะสมรายการฝุ่นที่ติดไฟได้ของ OSHA (หน่วยงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของสหรัฐอเมริกา) มีดังนี้

  • ในกรณีอุบัติเหตุนี้ใช้ฝุ่นสี ซึ่งอาจจะเป็นฝุ่นแป้ง (agriculture dust) ผสมกับสีซึ่งอยู่ในกลุ่มเคมีหรือโลหะ (chemical หรือ metal dust) ซึ่งตามตารางข้างต้นสามารถติดไฟได้ทั้งคู่
  • ปริมาณออกซิเจนในอากาศ (Oxygen)ในกรณีนี้ออกซิเจนในอากาศพร้อมสำหรับการติดไฟ
  • แหล่งจุดติดไฟ (Ignition Sources)ในเหตุการณ์นี้ เนื่องจากสภาพข้อ 1-2, 4-5 มีพร้อมแล้ว ขาดเพียงแหล่งความร้อน จากสภาพเวที คาดว่าแหล่งความร้อนมาจากไฟสปอตไลท์บนเวที ซึ่งมีความร้อนสูง อีกทั้ง โคมไฟเหล่านั้นไม่เป็นไปตามมาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งานสำหรับบริเวณที่มีฝุ่น ซึ่ง OSHA กำหนดให้ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า Class II (ป้องกันอุบัติเหตุจากระเบิดฝุ่น) ขณะที่ NFPA กำหนดให้ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีค่า Index of ProtectionIP 65 ขึ้นไป (เลขตัวแรกคือการป้องกันฝุ่น (ค่า 0-6, 0 ไม่ป้องกันฝุ่น6 ป้องกันฝุ่นได้สมบูรณ์) เลขตัวที่สองคือการป้องกันน้ำ (ค่า 0-8, 0 ไม่ป้องกันน้ำ 8 ป้องกันน้ำซึมเข้าเครื่องจากแรงดันได้ เช่น แช่ปั๊มไว้ใต้น้ำ)

ดังนั้น จากกรณีนี้เพลิงไหม้อาจเกิดจาก 2 ลักษณะ

  • มีความร้อนสะสมบนอุปกรณ์ไฟฟ้าโดยเฉพาะโคมไฟ เมื่อฝุ่นกระจายออกมาโดนความร้อนบนผิวของอุปกรณ์ไฟฟ้า จึงเกิดการลุกไหม้ ซึ่งจากความเร็วของการเกิดเหตุน่าจะเกิดจากสาเหตุนี้
  • ฝุ่นที่กระจายออกมาเล็ดรอดเข้าไปในโคมไฟ ทำให้เกิดการลุกไหม้ภายในโคมไฟก่อนลามออกมาภายนอก (หากเกิดจากสาเหตุนี้น่าจะใช้เวลานานกว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น)
  • การฟุ้งกระจายของฝุ่น (Dispersion of Dust Particles)ความเข้มข้นของฝุ่นที่ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศในช่วงที่ลุกไหม้หรือระเบิดได้ต้องอยู่ในช่วงประมาณ 50–100 g/m3 (กรัมต่อลูกบาศก์เมตร) จนถึง 2 – 3 Kg/m3 (กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)
  • จากภาพในยูทูป ฝุ่นถูกพ่นและกระจายจากเครื่อง ซึ่งเป็นสภาพที่พร้อมสำหรับการลุกติดไฟเป็นลูกโซ่ (เมื่อเพลิงไหม้เกิดขึ้นกับฝุ่นชุดแรก ความร้อนจะทำให้อากาศขยายตัว และไฟลุกลามไปติดฝุ่นที่อยู่ถัดไป หากมีฝุ่นมากๆ ในที่จำกัด จึงทำให้เกิดการระเบิดได้เนื่องจากมีอากาศร้อนขยายตัวในเวลารวดเร็ว)
  • ขอบเขตของหมอกฝุ่น (Confinement of the Dust Cloud) ในเหตุการณ์นี้ฝุ่นกระจายออกไปด้านหน้าเวที
  • จำนวนมาก ดังนั้น เมื่อเกิดต้นเพลิงจากบนเวทีจึงสามารถไหม้ลุกลามมายังฝุ่นที่กระจายอยู่ในโซนของผู้ชมได้

เอกสารอ้างอิง
1. คู่มือการจัดการความปลอดภัยโรงงานที่มีฝุ่นระเบิดได้ สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2553
2. OSHA Combustible Dust Poster
https://www.osha.gov/Publications/combustibledustposter.pdf

 

Read 3947 times Last modified on วันอังคาร, 10 มกราคม 2560 11:34

บทความที่ได้รับความนิยม