- การระบุเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
- การพัฒนาแบบจำลองเพื่ออธิบายลักษณะและอัตราการปลดปล่อยสารอันตราย
- การประมาณค่าความเข้มข้นของสารอันตรายจากทิศทางลม เพื่อประเมินผลกระทบลักษณะที่เป็นอันตราย ได้แก่ การลุกติดไฟ ความเป็นพิษ และการเกิดปฏิกิริยา เป็นต้น
โปรแกรม Areal Location of Hazardous Atmosphere (ALOHA) เป็นโปรแกรมการคำนวณการแพร่กระจายของสารเคมีที่รั่วไหลในอากาศ โดยสามารถประเมินอันตราย ได้แก่ ความเป็นพิษ ความไวไฟ รังสีความร้อน และการระเบิด เป็นต้น
โปรแกรม ALOHA สามารถสร้างแบบจำลองการรั่วไหลและการระเบิดจากสารเคมี ดังนี้
- Jet Fire เป็นไฟที่เกิดจากการรั่วไหลของสารเคมีอย่างต่อเนื่อง แล้วเกิดติดไฟทันทีทันใด และเกิดไฟไหม้เป็นลำพุ่งออกไป
- Pool Fire เป็นไฟที่เกิดจากถังเก็บกักหรือสารติดไฟรั่วไหลแล้วแผ่กระจายไปตามพื้น ลักษณะของไฟจะแผ่เป็นวงกว้าง ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่หน้าตัดของผิวสารติดไฟ
- Boiling Liquid Expanding Vapor Explosions (BLEVE) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดจากการรั่วไหลของสารเคมีหรือวัตถุไวไฟ และรั่วไหลออกมาในปริมาณมาก ซึ่งจะเกิดขึ้นกับการรั่วไหลของของเหลวที่อยู่ในถังกักเก็บภายใต้แรงดัน
- Fire Ball การเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้เป็นลูกไฟที่วิ่งไปในอากาศ เกิดขึ้นจากถังกักเก็บของเหลวไวไฟภายใต้ความดันแตก เนื่องจากได้รับความร้อน มักเกิดขึ้นพร้อมกับการระเบิดแบบ BLEVE
- Vapor Cloud Explosions (VCE) เกิดจากสารเคมีรั่วไหลและแพร่กระจายในบรรยากาศเป็นลักษณะกลุ่มก๊าซความเข้มข้นสูง และเกิดการลุกติดไฟทำให้เกิดการระเบิด ก่อให้เกิดอันตรายและมีผลในการทำลายล้างสูง
- Flash Fire เกิดจากสารเคมีรั่วไหลออกสู่บรรยากาศกลายเป็น Vapor Cloud ทำให้เกิดการติดไฟขึ้นภายหลัง แต่ไม่ทำให้เกิดการระเบิด
การบันทึกข้อมูลลงในโปรแกรม ALOHA
1. สถานที่เกิดเหตุ : กำหนดชื่อเมือง ที่ตั้งภูมิศาสตร์ ความสูงจากระดับน้ำทะเล (Elevation) ค่า Latitude และ Longitude
2. ชนิดของสารเคมี : เลือกสารเคมีที่ต้องการศึกษา และระบุความเข้มข้น 100% หรือความเข้มข้นที่ต้องการศึกษา
3. สภาพภูมิอากาศโดยรอบ : ระบุความเร็วลม ความขรุขระของพื้นดิน การปกคลุมของเมฆ อุณหภูมิของอากาศ และความชื้น
4. ลักษณะแหล่งกำเนิด
- Direct: การกระจายโดยตรง และทราบปริมาณของสารที่กำลังกระจายอย่างแน่ชัด
- Puddle: การกระจายของสารเคมีแบบไหลนองกับพื้น
- Tank: การกระจายจากถัง ไม่ว่าแบบทรงกระบอก หรือแบบทรงกลม
- Pipe: การรั่วออกจากท่อ ไม่ว่าท่อนั้นจะออกจากถังหรือเป็นท่อตัน
การแสดงผล
- รูปแบบ Footprint การแพร่กระจาย แบ่งเป็น 3 ระดับ ในแต่ละระดับจะแสดงขอบเขตของความเข้มข้นที่แตกต่างกัน ซึ่งระยะทางจากแหล่งกำเนิดจะมีอันตรายต่างกัน
- กราฟแสดงความเข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศ ณ จุดใดจุดหนึ่ง
- แสดงอัตราการรั่วไหลของสารเคมีตามระยะเวลาที่ผ่านไป
ประโยชน์ของโปรแกรม ALOHA
- สามารถประเมินผลกระทบเมื่อเกิดเหตุสารเคมีรั่วไหล โดยนำสภาพแวดล้อมในเหตุการณ์มาคำนวณระยะทางที่จะได้รับผลกระทบ เพื่อวางแผนการช่วยเหลือ
- การสร้างสถานการณ์หรือประเมินจุดเสี่ยง เพื่อวางแผนรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉินล่วงหน้า
เอกสารอ้างอิง
- วันวิสาข์ เสาศิริ, การประเมินการแพร่กระจายและการระเบิดของก๊าซปิโตรเลียมเหลว จากการรั่วไหลของสถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ในกรุงเทพมหานคร ด้วยโปรแกรม ALOHA, 2559.
- การใช้ Aloha, http://www.spko.moph.go.th/wp-content/uploads/2017/03/AlohaThai.pdf.
- Patel P. and Sohani N., Hazard Evaluation Using Aloha Tool in Storage Area of an Oil Refinery, International Journal of Research in Engineering and Technology, 2015, Volume 04, Page 203-209.