สาเหตุเบื้องต้น เนื่องจากเรือดังกล่าวใช้ก๊าซ LNG เป็นเชื้อเพลิงและเกิดจากรั่วไหลของก๊าซเชื้อเพลิง LNG และสัมผัสกับความร้อนหรือประกายไฟจนเกิดการลุกไหม้
การใช้ LNG เป็นเชื้อเพลิง
LNG (Liquefied natural gas) หรือก๊าซธรรมชาติเหลว คือก๊าซธรรมชาติที่ผ่านกระบวนการทำให้เป็นของเหลว โดยทำให้อุณหภูมิลดลงเหลือประมาณ -160 องศาเซลเซียส ซึ่งจะทำให้ปริมาตรเหลือประมาณ 1/600 เท่าของปริมาตรก๊าซเดิม ด้วยคุณสมบัติที่ดีของก๊าซธรรมชาติเมื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในเรือโดยสาร สาธารณะ นอกจากช่วยลดต้นทุนทางด้านเชื้อเพลิงแล้ว ยังถือเป็นพลังงานสะอาดช่วยลดมลพิษ และหากเกิดการรั่วไหลจะระเหยกลายเป็นไอแพร่ในอากาศได้อย่างรวดเร็วและไม่เหลือสารตกค้าง เมื่อเทียบกับการใช้ก๊าซ NGV แล้ว ก๊าซธรรมชาติในรูปแบบ LNG สามารถบรรจุในพื้นที่ที่น้อยกว่า ไม่ต้องเติมก๊าซบ่อย และถังบรรจุมีขนาดเบากว่า ดังนั้น LNG จึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก และหลายประเทศก็ได้นำ LNG ไปใช้งานทดแทนน้ำมัน
ถังที่บรรจุก๊าซ LNG จะมีคุณสมบัติในการรักษาอุณหภูมิให้ก๊าซอยู่ในรูปของของเหลว ซึ่งเรียกว่า Cryogenics ประกอบด้วยผนังสองชั้น ชั้นในบรรจุก๊าซ ชั้นนอกเป็นฉนวนสุญญากาศ และไม่ได้ถูกบรรจุในถังโดยการใช้ความดันสูงเหมือน CNG ซึ่งเป็นก๊าซเชื้อเพลิงธรรมชาติตัวเดียวกัน แต่มีข้อแตกต่างในกระบวนการการจัดเก็บหรือบรรจุในภาชนะ กล่าวคือก๊าซ CNG เป็นการบรรจุก๊าซภายใต้ความดันสูงที่อยู่ในสถานะเป็นก๊าซ ส่วนก๊าซ LNG เป็นการบรรจุก๊าซภายใต้ความเย็นต่ำที่อยู่ในสถานะกลายเป็นของเหลว
มาตรการป้องกันอันตราย
เนื่องจากก๊าซ LNG มีคุณสมบัติ ไรกลิ่น ไรสารพิษ และปราศจากสารกัดกรอน เบากว่าอากาศ ไมไดถูกบรรจุในถังโดยการใชความดันสูง จึงจะไมเกิดการระเบิดใดๆหากเกิดรอยแตกขึ้นที่ถัง ปจจัยเฉพาะที่จะทําใหเกิดการติดไฟขึ้นไดนั้น LNG ตองกลับไปอยูในสถานะกาซ รวมทั้งอยูในสภาพแวดลอมปดโดยมีปริมาณกาซในอากาศระหวาง 5-15% แลวมีประกายไฟเกิดขึ้น ดังนั้น กรณีดังกล่าวอาจเกิดจากการรั่วไหลของ LNG และเกิดการสะสมของปริมาณก๊าซจนมีความเข้มข้นในระดับที่สามารถติดไฟได้เมื่อเกิดประกายไฟ
เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุในลักษณะดังกล่าว ผู้ประกอบกิจการจึงควรมีมาตรการโดยใช้แนวทางตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ ในเรื่องเกี่ยวกับแผนการป้องกันระงับอัคคีภัย ทั้ง ๓ แผน ได้แก่ แผนก่อนเกิดเหตุ ต้องมีการอบรมให้ความรู้ความปลอดภัยในการทำงานตามปัจจัยเสี่ยง มีการฝึกซ้อมเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน มีป้ายข้อแนะนำหรือข้อควรระวัง ข้อปฏิบัติ แผนระหว่างเกิดเหตุ ต้องมีอพยพ การระงับเหตุ การช่วยเหลือ นอกจากนี้หลังเกิดเหตุควรต้องมีการควบคุมพื้นที่ที่เกิดเหตุเป็นเขตอันตรายจนกว่าจะได้มีการประเมินสถานการณ์ว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัยโดยผู้เชี่ยวชาญ และมาตรการเร่งด่วนที่ควรทำได้ทันที คือการปิดประกาศเตือนผู้ปฏิบัติงาน ผู้โดยสาร และผู้เกี่ยวข้อง โดยห้ามกระทำการในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดประกายไฟบนเรือโดยสารและบริเวณท่าเรือ เป็นต้น