This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111
วันพฤหัสบดี, 05 พฤศจิกายน 2563 13:52

การจัดการของเสียภายในห้องปฏิบัติการเคมี

  1. แยกของเสียอันตรายออกจากของเสียทั่วไป

  2. มีเกณฑ์การจำแนกประเภทของเสียที่เหมาะสม เพื่อการเก็บรอการบำบัดและกำจัดที่ปลอดภัย

  3. ใช้ภาชนะบรรจุของเสียที่เหมาะสมตามประเภท เช่น ไม่ใช้ภาชนะโลหะในการเก็บของเสียประเภทกรด  สารเคมีในขวดเดิมที่จะนำมาเก็บของเสียต้องไม่ใช่สารที่เข้ากันไม่ได้กับของเสีย
  1. ติดฉลากภาชนะบรรจุของเสียทุกชนิดอย่างถูกต้องและเหมาะสม

- ข้อความระบุอย่างชัดเจนว่าเป็น “ของเสีย”

- ชื่อห้องปฏิบัติการ/ชื่อเจ้าของ/ผู้รับผิดชอบ

- ประเภทของเสีย/ประเภทความเป็นอันตราย

- ส่วนประกอบของของเสีย (ถ้าเป็นไปได้)

- ปริมาณของเสีย

- วันที่เริ่มบรรจุของเสีย

- วันที่หยุดการบรรจุของเสีย

 

  1. ตรวจสอบความบกพร่องของภาชนะและฉลากของเสียอย่างสม่ำเสมอ

  2. บรรจุของเสียในปริมาณไม่เกิน 80% ของความจุของภาชนะ

  3. มีพื้นที่/บริเวณที่เก็บของเสียที่แน่นอน

  4. มีภาชนะรองรับขวดของเสียที่เหมาะสม โดยสามารถทนและรองรับปริมาณของเสียได้ทั้งหมด หากเกิดการรั่วไหล

  5. แยกภาชนะรองรับขวดของเสียที่เข้ากันไม่ได้ และควรเก็บ/จัดวางของเสีย ที่เข้ากันไม่ได้ตามเกณฑ์การเข้ากันไม่ได้ของสารเคมี

  6. วางภาชนะบรรจุของเสียห่างจากบริเวณอุปกรณ์ฉุกเฉิน เช่น ฝักบัวฉุกเฉิน อุปกรณ์สำหรับสารเคมีหกรั่วไหลอุปกรณ์ทำความสะอาด

  7. วางภาชนะบรรจุของเสียห่างจากความร้อน และแหล่งก่อให้เกิดประกายไฟ อย่างน้อย 7.6 เมตร

  8. เก็บของเสียประเภทไวไฟในห้องปฏิบัติการไม่เกิน 10 แกลลอน (38 ลิตร) ถ้ามีเกิน 10 แกลลอน ต้องจัดเก็บไว้ในตู้ สำหรับเก็บสารไวไฟโดยเฉพาะ

  9. กำหนดปริมาณรวมสูงสุดของของเสียที่อนุญาตให้เก็บได้ในห้องปฏิบัติการ เช่น

 - ตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้เก็บของเสียไว้ในห้องปฏิบัติการที่มีปริมาณน้อยกว่า 55 แกลลอน (ประมาณ 200 ลิตร) ได้ไม่เกิน 90 วัน และที่มากกว่า 55 แกลลอน ได้ไม่เกิน 3 วัน

  1. กำหนดระยะเวลาเก็บของเสียในห้องปฏิบัติการ

- กรณีที่ของเสียพร้อมส่งกำจัด (ปริมาตร 80% ของภาชนะ) : ไม่ควรเก็บไว้นานกว่า 90 วัน

- กรณีที่ของเสียไม่เต็มภาชนะ (ปริมาตรน้อยกว่า 80% ของภาชนะ) : ไม่ควรเก็บไว้นานกว่า 1 ปี

 

อ้างอิง

ปฏิมา มณีสถิตย์.  Laboratory safety ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

ธีรยุทธ วิไลวัลย์, สุชาตา ชินะจิตร และจุฑามาศ ทรัพย์ประดิษฐ์. (2560). ของเสียจากห้องปฏิบัติการ ที่นักเคมี (มัก) มองข้าม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 36 หน้า.

 

Read 25597 times Last modified on วันพฤหัสบดี, 05 พฤศจิกายน 2563 14:15

บทความที่ได้รับความนิยม