จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2560 พบว่าประชากรสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มีจำนวน 11.3 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 16.7 ของประชากรทั้งหมด และมีแนวโน้มประชากรสูงอายุจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ประชากรวัยเด็กและวัยทำงานลดลง ส่งผลให้ประเทศไทยก้าวสู่ยุคที่เรียกว่า “สังคมผู้สูงอายุ” (Aging Society) ภายในปี 2564 การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างของประชากรดังกล่าวส่งผลให้อายุเฉลี่ยของแรงงานไทยจะสูงขึ้น แรงงานที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
ท่านทราบหรือไม่ว่า ในแต่ละปี มีคนนับล้านบนโลกใบนี้ต้องเสียชีวิตจากการบาดเจ็บและเจ็บป่วยในระหว่างการทำงาน หากนับเป็นวัน สถิติจาก ILO บอกให้เรารู้ว่า โดยเฉลี่ยแล้วในแต่ละวัน มีเพื่อนซึ่งเป็นคนทำงานเหมือนกับเราต้องเสียชีวิตถึง 7,700 คนต่อวัน หรือในทุกๆ 15 วินาที ยังไม่รวมการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยในระดับอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการหยุดงาน ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว และที่น่าตกใจคือกลับมีแนวโน้มสูงขึ้นด้วยเมื่อเทียบกับ 3 ปีที่ผ่านมา
การทำงานมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง อาจกล่าวได้ว่าการทำงานเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ปฏิบัติมากกว่ากิจกรรมใด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมอุตสาหกรรม คาดกันว่ามนุษย์ได้ใช้เวลาถึงหนึ่งในสามของชีวิตเป็นอย่างน้อยอยู่ในโรงงานหรือสำนักงาน และยังเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้ มนุษย์จำเป็นต้องใช้เวลาของชีวิตเกี่ยวข้องกับการทำงานเพิ่มขึ้นไปอีก ซึ่งคนวัยแรงงานเป็นกลุ่มคนกลุ่มใหญ่ที่สุดของโครงสร้างประชากรไทย เป็นกลุ่มคนที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จึงเป็นกลุ่มประชากรที่ภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญไม่เพียงในการพัฒนาศักยภาพแต่รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย
การเกิดอุบัติภัยในโรงงานอุตสาหกรรม สาเหตุหลักมาจากการรั่วไหลก๊าซหรือสารเคมี ซึ่งความรุนแรงหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นมักขึ้นอยู่กับชนิดของก๊าซหรือสารเคมี ที่รั่วไหล ถ้าสิ่งที่รั่วไหลเป็นก๊าซไวไฟก็จะทำให้เกิดเหตุไฟไหม้ การระเบิด แต่ถ้าเป็นก๊าซพิษก็จะทำให้เกิดพิษ อันตรายต่อคนและสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบันปัญหาการประสบอันตรายจากการทำงานและความสูญเสียที่เกิดขึ้นยังมีความรุนแรงและก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากขึ้นถึงแม้กระทรวงแรงงานได้พยายามหามาตรการดำเนินการ เพื่อให้สถานประกอบกิจการดำเนินการลดการประสบอันตรายด้วยตนเอง ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมมาตลอด
© 2024 TOSH